top of page

ใครอยากเป็นหมอ ต้องอ่านบทสัมภาษณ์นี้! หมอพี่เบิ้ม MD, PhD

Updated: Mar 17, 2023

If you have enough ‘why’ - ‘how’ will come.

เรื่องของความสำเร็จมันไม่ยาก กระบวนการมันเรียบง่าย แต่อยู่ที่ว่าจะทำมันได้ต่อเนื่องหรือเปล่า



บทสัมภาษณ์ "หมอพี่เบิ้ม" จากเด็กโรงเรียนไทย มีความมุ่งมั่นที่จะไปอเมริกาให้ได้ ไม่ใช่แค่การขยันแต่มันคือการทำอย่างต่อเนื่อง ไปดูกันว่าหมอพี่เบิ้มทำได้อย่างไร


Q : จะไปเป็นหมอในต่างประเทศต้องเรียน/สอบอะไรบ้างคะ


A : เรียนหมอจนจบ 6 ปีที่ไทย หลังจากนั้นสอบ USMLE (The United States Medical Licensing Examination ) ซึ่งมีอยู่ 3 ส่วนคือ USMLE step1, step2CK (clinical knowledge) , step2CS (clinical skill) , และ step3 ครับ


ซึ่งการแข่งขันจะค่อนข้างสูง เนื่องจากหมอทั่วประเทศจะมาแข่งกันเองทั่วโลก รวมถึงแข่งกับหมอในอเมริกาด้วย ฉะนั้นข้อสอบตัวนี้ก็จะเป็นตัว screen หมอทั่วโลก

เรียนจบที่ไหนก็ได้ 6 ปีได้วุฒิ MD แต่ในอเมริกา วุฒิ MD อย่างเดียวยังวัดไม่ได้ จะต้องไปต่อเฉพาะทางก่อน โดยเฉพาะทางที่เปิดรับมากที่สุดคือ internal medicine ภาษาไทยคือ อายุรกรรม ต้องมาเทรนที่นี่สามปี จะได้เป็น American board คือเฉพาะทางทางด้าน medicine

แต่ถ้าอยากจะต่อเฉพาะทางลึกลงไปอีก เช่น พวกหมอหัวใจ หมอไต หมอปอด ก็ต้องไป train fellowship

อีก 2-5 ปีแล้วแต่สาขาครับ


กรณีของพี่เบิ้มคือ MD-PhD ปกติแพทย์เรียน 6 ปี จะแบ่งเป็นเรียน 3 ปีแรกเลคเชอร์ basic sci

3 ปีหลัง ปฏิบัติที่โรงพยาบาล (clinical skill)

แต่ของพี่เบิ้มจบ 3 ปีแรก แล้วแยกไปทำวิจัยก่อน โดยมาต่อ PhD เป็น Doctor แบบนักวิทยาศาสตร์ ทำ PhD ที่อเมริกา ทำอยู่ 4 ปีครึ่ง แล้วจึงกลับไปเรียนต่ออีก 3 ปีที่ไทยจนจบ ก็จะได้เป็น MD-PhD ปัจจุบันไม่ได้ทำวิจัยแล้ว หลังจากนั้นสอบ USMLE และเทรนเฉพาะทางอีก 3 ปี แล้วถึงทำงานครับ


USMLE จะต้องสอบครั้งเดียวผ่าน ต้องการคะแนนสูง ถ้าผ่านแล้วผ่านเลย ถึงแม้คะแนนน้อยก็ไม่สามารถสอบซ้ำได้


Part แรก clinical knowledge เป็นการทำข้อสอบ ส่วน part 2 clinical skill ต้องบินไปสอบปฏิบัติที่อเมริกา ไปสัมภาษณ์คนไข้ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และวินัจฉัย คนไข้จะเป็นนักแสดง ฉะนั้นภาษาอังกฤษต้องได้


พี่ไปอเมริกาตอนอายุ 22 และเรียนจบทุกอย่างที่กล่าวถึงข้างต้นตอนอายุ 35 ถ้าให้จบเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คาดว่าจะจบตอนอายุประมาณ 28 ปี (เคสในไทย ใช้เวลาประมาณ 1 ปีหลังจากเรียนจบ) ครับ



Q: มันเป็นเพราะเราเรียนเก่งตั้งแต่แรก หรือเพราะเราพยายามคะ


A: คิดว่าการที่จะไปสอบ ต้องใช้ทั้งความเก่งและความพยายาม โดยส่วนตัวคิดว่าจะเป็นความพยายามมากกว่า เนื่องจากตอนนั้นเรียนที่ลาซาลระดับม.ปลาย จะแข็งสู้กับโรงเรียนอื่นค่อนข้างยาก


Q: เรียนพิเศษหรือติวเองคะ


A: เรียนพิเศษตามที่เรียนกันตอนนั้น เช่น อ.อุ๊ ฯลฯ


พี่ก็ไปติวตามที่เขาเรียนกัน อาจารย์อุ๊ที่เขาว่าดีกัน อยู่โรงเรียนก็เตะบอลกับเพื่อน เข้าสังคมมากกว่า สนุกสนาน แต่เวลาเรียนก็ไปเรียนพิเศษข้างนอก ไม่งั้นก็สู้เขาไม่ได้


มันก็มีความเรียนเก่งนิดนึง เพราะเราเริ่มต้นมาจากตอนเด็กๆ ป่ะป๊าหม่าม๊าเป็นคนสอนการบ้านให้ มันก็จะเร็วกว่าเพื่อนหน่อย อย่างตอนอนุบาลก็ได้ที่ 1 บ้าง ที่ 2 บ้าง พอเจอคนเก่งกว่าการแข่งขันสูงกว่า เราก็จะรู้สึกว่ายอมไม่ได้ อยากจะสู้กับเขา แต่ถ้าอยากจะสู้มันก็ต้องอ่าน


แต่ถ้าเริ่มต้นดีมันก็สำคัญนะ ถ้าเป็นเด็กเล็ก สอนเขาตั้งแต่เด็กๆ แล้วเขาเรียนเก่งมาเรื่อยๆ มันก็จะมีความรู้สึกว่า ไม่ได้ละ เกรดตกแพ้เขา ศักดิ์ศรีค้ำคอนิดนึง


เพราะฉะนั้นการที่เราเริ่มต้นต่างกับเพื่อนนิดนึงตั้งแต่แรกมันก็ทำให้ตอน ม.ปลาย มันมีผลลัพธ์ที่ต่างกันเลย


Q : แล้วภาษาอังกฤษตอนนั้นเป็นยังไงคะ


A : ภาษาอังกฤษก็โอเค อ่านออกเขียนได้บ้าง ตามประสาเด็กไทยที่เรียนโรงเรียนไทย แต่พูดจริงๆ ก็พูดไม่ค่อยได้



แล้วพอเข้าไปเรียนจริงๆ มันก็เหมือนกับเวลาที่เราอยากได้อะไร เรดาร์ของเรามันก็จะจูนให้เจอกับสิ่งนั้น

ตอนแรกก็โอเคนะ พี่ก็ทำวิจัยอยู่ที่เมืองไทย ก็คิดว่าจะทำจนจบแล้วก็ปีสุดท้ายเขาก็จะส่งไปที่อเมริกา


Q : ไม่อย่างนั้นก็จะต้องทำแค่ 6 เดือนใช่มั้ยคะ แล้วตอนนั้นคือปีไหนแล้วคะ ที่มาอเมริกา


A : ตอนนั้นเพิ่งเริ่มเลย เพิ่งทำ PhD ปีแรกที่เมืองไทย ซึ่งนี่ก็เป็นอีกอย่างนึงนะ คือรุ่นพี่เขาบอกว่า ถ้าอยากมาอเมริกานะ ก็ต้องไปตอนนี้ สอบตอนนี้ ตอนนั้นพี่จำได้ว่าเตรียมตัวสอบ TOELF อ่านอยู่ระมาณสามเดือนมั้ง

แล้วก็มาสอบเลย เพราะเขาบอกว่าถ้าเรามัวเสียเวลาทำวิจัยอยู่ที่เมืองไทยใช่มั้ย ยิ่งนานเข้า เราจะวิจัยลึกเข้าไปเรื่อยๆ ยากขึ้นเรื่อยๆ เราคิดว่าอาจารย์เขาก็จะหวังว่าเราจะทำอันนี้ แล้วก็ตีพิมพ์อันนี้ การที่เราจะออกกลางคันโดยที่เราทำไปแล้ว 2-3 ปี มันเป็นอะไรที่ยาก


Q : ตอนนั้นคือจบ 6 ปีแล้วใช่มั้ยคะ


A : กำลังจะจบ 3 ปีครับ


Q : กำลังจะจบ 3 ปีก่อน แล้วก็ที่ว่าเริ่มทำวิจัย จริงๆ ต้องมา 6 เดือนสุดท้าย แต่ว่าได้มาเลย


A : ใช่ครับ ก็เลยใช้เวลาในการสอบที่จำได้ว่ารีบมาก เพราะว่าต้องการภายในช่วงนี้ ช่วงปี 1 ก็เลยได้มาเลย มาทำวิจัยและทำ MDPhD ที่อเมริกา



Q : ที่ไหนนะคะที่แรก ที่ Wisconsin ใช่มั้ยคะ


A : ใช่ครับที่ Wisconsin วันนั้นที่มา ภาษาอังกฤษวันแรกเรียกได้เลยว่า surreal มาก คิดว่ามาอยู่อเมริกามันจะได้จบอเมริกาอ่างที่ฝันไว้มั้ย คือเหมือนฝัน เหมือนเดินอยู่ในโลกของความฝันน่ะ


Q : เชื่อเรื่องนี้มากนะคะว่า ถ้าเราคิดแล้วเราตั้งใจจริงๆ ว่าเราอยากได้อะไร แล้วเราก็มุ่งไปเนี่ย วันนึงมันได้จริงๆ นะคะ คิดเหมือนกัน


A : ใช่ พี่ก็เลยแบบ พอได้มาตรงนั้น เราก็ได้มาอยู่ในอเมริกาใช่ปะ ภาษาเราก็ดีขึ้นไง เพราะใน Wisconsin มันก็ไม่มีคนไทยถูกมั้ย


Q : โปรแกรมที่ไปเรียนตอนนั้นก็คือไม่มีคนไทยเลย ถูกมั้ยคะ มีแค่อาจารย์คนไทยคนนั้นคนเดียวหรอคะ


A : มีอาจารย์คนไทยอยู่ แล้วก็มีพี่คนไทยอีกคน สองคน ไม่เยอะ ส่วนใหญ่พี่ก็จะอยู่กับ class ที่เป็นอเมริกัน


Q : ค่ะ ก็เรียน ทำวิจัยอย่างเดียวจนจบ


A : ใช่ครับ ก็อยู่ที่นั่น 4 ปีครึ่งจนจบ แล้วพี่ก็กลับมารามาแล้วก็เรียนที่เหลือต่ออีก 3 ปีให้จบ


Q : แล้วก็เข้าสู่ระบบ USMLE ใช่มั้ยคะ 1 ปี


A : ใช่ครับ กลับมาใหม่


ระหว่างทางเนี่ย พี่ทำเองคนเดียวไม่ได้หรอกนะ ก็คือมีคนช่วย เพื่อนช่วย มีคนรู้จัก มีอาจารย์ที่คอยบอก อย่างตอนที่พี่จะกลับมาเทรน residency ก็มีเพื่อนที่เรียนหมอมาด้วยกันแล้วเขาจบหมอก่อนเรา เป็นเพื่อนสนิท พอเขาเรียนจบจะมาต่ออเมริกาเขาก็บินมาแล้วมาอยู่กับพี่ เป็นรูมเมทกัน พอพี่กลับไปเมืองไทยเขาก็เรียนที่นี่จนจบ ก็ทำงานที่นี่ พอพี่กลับมาเขาก็จะช่วยแนะนำ connection อะไรอย่างงี้



Q : ตอนนั้นอายุเท่าไรนะคะที่กลับไปรอบสอง ไปเทรน residency


A : ประมาณ 29 อย่าง 30 ครับ


Q : แล้วก็ยาวเลย


A : ใช่ครับ พอได้ resident ปุ๊ป ที่นี้ก็ยาวละ ก็หางานทำที่นี่ได้แล้ว


Q : แล้วหลังจากนั้นคือ ได้จาก Wisconsin แล้วก็ต้องเปลี่ยนมั้ยคะ ตอนที่กลับไป


A : ต้องเปลี่ยนครับ ปกติก้ต้องสมัครไปแล้วก้แล้วแต่ว่าจะได้ที่ไหน มันก็จะมีโปรแกรมที่แบบ เขาค่อนข้างที่จะชอบเด็กต่างชาติ ค่อนข้างเปิดรับเด็กต่างชาติ แล้วก้ฒีโปรแกรมที่ส่วนใหญ่จะรับแต่เด็กอเมริกัน แต่พี่ได้ที่ Chicago เพราะพี่มีเพื่อนอยู่ที่นั่น แล้วเพื่อนพี่เขาก็มีญาติคนไทยที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลนั้น เขาก็เหมือนแนะนำชื่อเราเข้าไป ให้ได้เข้าไปสัมภาษณ์


เพราะพี่จำได้ว่า ตามปกติเวลาคนไทยสมัครเนี่ย เขาต้องสมัครเป็นร้อยที่ เสียค่าสมัครเป็นแสนเลยนะ


Q : ถ้าไม่มี recommend หรอคะ


A : ต่อให้มีเขาก็ทำกันแบบนั้นนะ เพราะเราไม่รู้ว่าจะได้ที่ไหน แต่ตอนนั้นพี่มั่นใจเพราะมี connection พี่ก้เลยสมัครแต่ใน Chicago เลย แบบแค่ 10 กว่าที่ คือมันไม่ค่อยมีด้วยแหละ เราไม่มีเงินแสนไปเสียอะไรอย่างงั้นไง พี่ก็เลยเลือกเฉพาะที่มันมีความน่าจำเป็น


Q : แล้วพอได้เขามาเป็นหมอ ก็คือเป็น resident เนี่ย ได้ค่าตอบแทนมั้ยคะ ตอนเทรน ก็คือจะเริ่มได้ตอนเทรนเลยใช่มั้ยคะ ตอนเรียนไม่ได้


A : ได้ครับ


Q : แล้วส่วนของคนที่ไม่ได้ทุน ก็ต้องให้ที่บ้านซัพพอร์ตใช่มั้ยคะ


A : ใช่ครับ คือหมอเมืองไทยเนี่ย เมื่อก่อนมันไม่ได้แพงขนาดนี้นะ เดี๋ยวนี้มันเปลี่ยนไปนะ แพงขึ้น เพราะจำได้ว่าตอนนั้นเนี่ย รุ่นพี่พอเอนติดรามามันก็มีค่าเทอมใช่มั้ย แต่ค่าเทอมมันก็หลักพัน เรียนจบมาก็ต้องไปใช้ทุนต่างจังหวัด 3 ปี หรือไม่ก็ต้องใช้เงินสี่แสนบาท ซึ่งมันถือว่าไม่เยอะถ้าเทียบกับปัจจุบัน เพราะปัจจุบันเป้นหลักล้านไง


ก็คือสมมติไม่ทำแบบพี่ ทำแบบปกติเนี่ย พ่อแม่ผู้ปกครองก้ต้องมีเงิน อย่างน้อยส่งลูกเรียนจบรามา ตอนเรียนถ้าสมมติสอบเข้าของรัฐได้ ค่าเทอมมันก็ไม่แพง สมมติเรื่องเงินเป็นปัญหาหลัก พอเรียนจบก็อาจจะต้องไปใช้ทุนก่อน 3 ปี อะไรก็ว่าไป ก็ไม่ต้องไปเสียเงิน ช่วงที่ใช้ทุนก็มีรายได้ ถ้าทำได้ก้เตรียมตัวสอบไป ใช้ทุนจบเราก็เป้นอิสระแล้ว ไม่ได้ไปติดหนี้ใคร


Q : แล้วตอนที่ใช้ทุนนี่ได้เงินเดือนประมาณเท่าไรคะ


A : ที่เมืองไทยไม่แน่ใจนะครับ แต่เท่าที่คุยกับเพื่อนก้เป็นหลักแสนนะ


Q : ไปประจำต่างจังหวัดอะไรอย่างงี้ใช่มั้ยคะ


A : มันจะมีพวกเบี้ยกันดาร เบี้ยนู่นเบี้ยนี่ ก็เป็นรายได้หมอปกติ


Q : แล้วพอเข้าไปเป็นเทรนเรซิเด้นท์ จากเรซิเด้นท์ก็กลายเป็นหมอ ก็จะได้เงินเดือนหมอ


A : ใช่ครับ คือพอเรียนเฉพาะทางเป็นเรซิเด้นท์ ก็จะได้เงินเดือนนะ แต่ไม่ได้เยอะมากเพราะมันเป็นเทรนนิ่ง ตอนนั้นพี่ได้ปีนึงประมารสี่หมื่นเหรียญ ล้านกว่าบาท แต่เราก้ต้องรับผิดชอบค่าอพาร์ทเม้นท์ค่ากินค่าอะไรของเราเอง


Q : แล้วจากตอนนั้นที่มูฟมาเป็นหมอ ก็ได้เพิ่มเป็นสองเท่าเลยมั้ยคะ


A : ถ้าเป็นหมอ มันขึ้นมาประมาณ 5-6 เท่าครับ จนถึงปัจจุบัน


Q : มีไต่ระดับมั้ยคะ เช่นถ้าระดับเท่านี้เงินเดือนเท่านี้


A : ไม่เสมอไปครับ แล้วแต่สาขาที่เราเลือกด้วย สาขาที่พี่ทำคือไม่มีไต่ระดับ คือจบมาแล้วเนี่ย เงินเดือนเท่ากัน ของผมเป็น Internal medicine อายุรกรรม ก็คือเน้นรักษาในโรงพยาบาล ไม่ต้องออกคลินิค คือใครป่วยหนักเข้าโรงพยาบาล พี่ก็จะไปดู


Q : ต้องอยู่ในห้อง ER มั้ยคะ


A : ของพี่ไม่ได้อยู่ ER ครับ แต่ทำงานคู่กับหมอ ER พอเขาเข้ามาดุคนไข้แล้ว ถ้ารู้สึกว่าเออ คนไข้คนนี้ต้องแอดมิทนะ ก็ต้องโทรหาพี่ ว่าคนไข้ชื่อนี้ๆ จะแอดมิท เขาก็จะส่งเวรให้พี่ ส่งข้อมูลให้พี่ พี่ก็รับช่วงต่อ จนกว่าคนไข้จะดิสชาร์จกลับบ้าน หน้าที่พี่ก็คือตรงนั้น



Q : ที่อเมริกาฮิตมั้ยคะ เพราะหลังโควิดเห็นมีเรื่อง Telemedicine ก็เลยอยากรู้เรื่องนี้ แล้วก็เรื่องอนาคตของอาชีพแพทย์ พี่เบิ้มมองว่ามันน่าจะเป็นยังไงคะ


A : พี่คิดว่าเรื่อง Telemedicine ยังค่อนข้างใหม่ คือหมอขาดแคลนอยู่แล้ว อัตราการผลิตหมอกับอัตราคนเกิดมันไม่เท่ากัน เพราะวันๆ นึงคนเกิดเยอะมาก แต่กว่าจะผลิตหมอได้คนนึงใช้เวลาไปนานมาก เพราะฉะนั้นยิ่งระยะเวลาผ่านไปเรื่อยๆ อัตราส่วนประชากรกับหมอจะโตไม่ทันกัน ดังนั้น ยังไงหมอก็ขาดแคลน telemedicine มันก็ช่วยเรื่องของ physical คือเราไม่ต้องไปตรงนั้น สามารถใช้เทคโนโลยีในการดูแลได้ ซึ่งมันยังใหม่อยู่ แต่พี่คิดว่ามันจะเป็นบางสิ่งในอนาคต


Q : แล้วอนาคตของวงการแพทย์ตอนนี้ ภาพรวมเป็นยังไงบ้างคะ อย่างที่เขาชอบพูดดกันว่า จะให้แพทย์มาเรียนรู้เรื่องต้องให้โรบอทมาทำ Operation ไม่รู้ว่าจริงรึเปล่า


A : คือเรื่องของเทคโนโลยีมันต้องมีการเปลี่ยนไปอยู่แล้ว ความรู้มันอยู่นิ่งไม่ได้หรอก ยังไงทุกๆ คนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ทีนี้เรื่องเทคโนโลยี ไม่ต้องพูดถึงอนาคต แค่ตอนนี้เอง ยาตัวใหม่ๆ ที่ผลิตขึ้นมา ก็เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ค้นพบตัวยาใหม่ๆ อย่างโควิดก็ยังคิดค้นยามารักษาได้ ใช้เวลาไม่นาน และเป็นอะไรที่ใหม่มาก


แล้วก็พวกยามะเร็งต่างๆ ก็แทบจะไม่เหมือนกับที่พี่เคยเรียนเลย คือแค่ชื่อก็เปลี่ยน หนังสือที่ใช้เรียนตอนรุ่นพี่ใช้ไม่ได้แล้ว


Q : แบบนี้หมอก็ต้องอ่านตลอด ต้องอัพเดตตลอดใช่มั้ยคะ


A : ใช่ครับต้องอ่านตลอด อย่างพี่เองทุกปีก็ต้องไป conference เพราะมันมีอะไรที่ต้องอัพเดตอยู่ตลอดเวลา


Q : แล้วมันก็เกี่ยวเนื่องกับที่ต้องวินิจฉัยคนไข้ด้วยใช่มั้ยคะ


A : ใช่ครับ มันต้องตาม guideline เพราะบางทีคนทั่วไปก็อาจจะสับสนว่าทำไมปีนึงหมอทำแบบนี้ แล้วทำไมอีกปีหมอทำอีกอย่าง ปีนี้พูดแบบนี้ อีกปีพูดย้อนกลับ อย่างปีที่แล้วบอกยาตัวนี้ดี ปีนี้ไม่ดีแล้ว อะไรอย่างงี้ เพราะงานวิจัยมันไม่อยู่นิ่ง เขามีข้อมูลใหม่ มีงานวิจัยใหม่ๆ ออกมาตลอด บางที recommendation หรือ guideline มันก็ต้องเปลี่ยนนะ เราก็ต้องอัพเดตตัวเองอยู่ตลอดเวลา

เพราะเรื่องเทคโนโลยี เรื่องหุ่นยนต์มันก็จะมา แต่มันคงไม่ไปไกลถึงขั้นที่ว่าใช้หุ่นยนต์ในการรักษาอย่างเดียว ยังไงมันก็ต้องอาศัยคน อาศัยหมอ อาศัยมนุษย์ ในการทำงานควบคู่กัน เพราะฉะนั้นยังไงหมอก็เป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการอยู่ ไม่คิดว่าหุ่นยนต์จะมาแทนที่ได้ แต่ว่าจะมาทำงานร่วมกันกับหมอ


Q : แล้วหมอก็ต้องอัพเดต ต้องฝึกให้ควบคู่ไปกับความแอดวานส์ตรงนี้ หมอก็ต้องเก่งขึ้นควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ อะไรหลายอย่างใช่มั้ยคะ


A : ใช่ครับ แต่มันก็เป็นแบบนี้ไม่เฉพาะหมอนะ โลกมันก็เปลี่ยนไป ตอนพี่เป็นวัยรุ่นมันก็อีกยุคนึง โลกมันก็ปลี่ยนไป


Q : มุมมองของเราในฐานะเด็กต่างชาติไปทำงานที่นั่น มีอะไรที่อยากฝากบอกน้องๆ มั้ยคะ ว่าต้องทำตัวยังไง


A : พี่ว่าอเมริกาเนี่ย ยังเปิดรับคนเก่งนะ คือโดยส่วนตัวแล้วพี่ไม่ได้มีปัญหาว่าคนเขาดูถูกเรา ดูถูกต่างชาติหรืออะไร ไม่เคยโดนส่วนตัวเรื่องเหยียดเชื้อชาติหรือเหยียดสีผิว ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเขารู้ว่าเราทำงานทางด้านการแพทย์ด้วยรึเปล่านะ เพราะว่าหมอส่วนใหญ่ที่นี่มันก้ขาดแคลนอยู่แล้ว เราเข้ามาทำเขาก็ appreciate เรา


แล้วอเมริกาเนี่ย เป็นประเทสที่เราเคยได้ยินเรื่องเหยียดเชื้อชาติ เหยียดสีผิว ทุกอย่างเลยนะ จากสื่ออะไรแบบนี้ แต่ว่าพี่ว่าก็ยังเปิดรับ เป็นประเทศที่ใจกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย จะยกตัวอย่างให้ว่าถ้าสมมติให้เทียบกันเห็นๆ เนี่ย พี่มีโอกาศได้มาเรียนเฉพาะทาง มาทำ PhD มาทำวิจัย ทั้งที่พี่เป็นคนไทย ที่พอมาประเทศนี้ก็พูดภาษาอังกฤษแทบจะแบบไม่ได้ มีแค่คะแนนสอบที่ดี แต่ประเทศนี้เขาเปิดโอกาศให้พี่มาถึงจุดนี้ได้ เป็นหมอที่รักษาคนของเขาได้ ลองมองกลับกันนะ เมืองไทยเนี่ย ขอแค่ว่าจะมีโอกาสมั้ยที่เพื่อนบ้านชาวเขมร พม่า หรือลาว มาทำปริญญาเอก หรือเรียนหมอ แล้วหมอลาวมารักษาคนไทย คือพี่ว่าคนไทยบางทียังมีความเหยียดสีผิวข้างในอยู่ลึกๆ


คือบางทีถ้าพี่พูดกันตรงๆ อย่างคนลาว มันก็จะมีความหมายในแง่ดูถูกเขานิดๆ ว่านี่มันลาว นี่มันเขมร คือแค่พูดชื่อประเทศเขา ชื่อ Nationality ของเขาอะ เรายังมีความรู้สึกว่าเราแบบ ดูถูกเขานิดๆ ถูกปะ ว่าเราเก่งกว่าเขา แล้วโอกาสที่เขาจะมาเรียนในโรงเรียนของเรา ในมหาลัยของเรา หรือมาทำปริญญาเอกในระบบของเราเนี่ย เมืองไทยแทบไม่ได้เปิดรับใครเลยนะ


Q : แล้วพวกอาจารย์หมอที่จบนอกกลับมา เขาก็..


A : ก็อยู่ในระบบไทย ที่พี่เคยถามคำถามตั้งแต่เด็กว่า ทำไมมันต้องเป็นแบบนี้ ทำไมต้องบังคับให้ทำอะไรแบบนั้นแบบนี้ แล้วบางทีคำตอบมันก็คือ ก็เขาทำกันมาแบบนี้ เพราะฉะนั้นถ้าถามว่ามาอยู่ที่นี่พี่รู้สึกยังไง จริงๆ รู้สึกว่าเขายังเปิดใจกว้างกว่าประเทศเรา ประเทศนี้มันยังเป็นประเทศแห่งโอกาศอยู่ ถึงแม้ว่ามันจะน้อยลงๆ เรื่อยๆ มันก็ยังเป็นประเทศของโอกาศอะ คือถ้าคุณพยายามคุณตั้งใจ มันก็ยังมีโอกาศที่จะลืมตาอ้าปากได้


Q : วัดกันที่ความสามารถเลย เอาแบบนี้ดีกว่า


A : วัดกันที่ความสามารถ ใช่ แต่จะให้คนลาว คนเขมร มาลืมตาอ้าปาก มามีชีวิตที่ดีในเมืองไทย มันแทบเป็นไปไม่ได้เลย


Q : คำถามสุดท้าย อยากให้ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเป้นหมอ หรือฝากถึงลูกศิษย์หน่อยค่ะ ว่าต้องวางแพลนยังไง คิดแบบไหน มีแก่นอะไรให้เขายึดถ้าอยากจะไปเป็นหมอที่ต่างประเทศ อะไรแบบนี้ค่ะ


A : เป็นคำถามที่ดีมาก ถ้าจะให้ตอบขอตอบเป็นภาษาอังกฤษนะครับ

If you have enough ‘Why’ ‘How’ will come.

คือคนมักจะถามว่าพี่เบิ้มกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ทำยังไง มีคำแนะนำยังไง คือถามใช่มั้ยว่า how, how to do that อะไรอย่างงี้ แต่คำตอบของพี่คือ เราต้องมีเหตุผล มี burning desire มีความต้องการที่มันต้องอยากได้จริงๆ ถ้ามีความอยากได้จริงๆ เนี่ย how มันจะมาเอง


อย่างที่พี่เล่าว่ากระบวนการเนี่ย เราก็ได้ยินตั้งแต่ต้นจนจบ มันก็มีหลายกระบวนการ ใช้ระยะเวลายาวใช่มั้ย คือถ้าคนไม่อยากได้จริงๆ มันก็จะเจอกำแพง เขาบอกว่ากำแพง มีไว้สำหรับคนที่ไม่ได้อยากได้จริงๆ เพราะคนที่อยากได้ก็จะหาทางปีนข้ามไป เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะเป็นหมอก็ต้องถามตัวเอง ต้องหาให้เจอว่าอยากจะเป็นหมอจริงๆ รึเปล่า อยากจะมาอเมริกาจริงๆ รึเปล่า ทำไมถึงอยากจะมาอเมริกา มันต้องมีความรู้สึกว่า ไม่มาไม่ได้ ไม่เป็นไม่ได้


ถ้ามีความรู้สึกนั้นน่ะ หนทางมันจะมาเอง เพราะถ้าไม่มีความรู้สึกนั้น ตอให้พี่บอกอะไรไป ก็ไม่ทำนึกออกมั้ย สมมติพี่บอก อ่านหนังสือเล่มนี้สิ แล้วเราบอก พี่ผมเป็นหมอก็ดีไม่เป้นก็ได้ ถามว่าเขาจะไปอ่านมั้ยหนังสือเล่มนี้ ถามว่าถ้าอยากมาอเมริกา ต้องทำแบบนี้ๆ นะ แล้วตอบว่าผมทำงานอเมริกาก็ดีแต่ทำที่ไทยก็ได้ พ่อแม่ผมก็รวย


คือมันต้องมาจาก ทำไมคุณถึงอยากจะมาอเมริกา เรื่อง how to น่ะมันไม่สำคัญหรอก มันสำคัญที่ว่า Why, If you have enough ‘why’ how will come เป็นออโตเมติกเลย


Q : คิดว่าเท่านี้ก็พอแล้วสำหรับทุกอาชีพเลยนะคะ


A : จริง เพราะว่าอย่างที่บอก ไม่ว่าจะเป็นอะไร ทุกอย่างมันมีกำแพงแหละ แต่กำแพงมันเอาไว้กั้นคนที่ไม่อยากได้มากพอ


Q : สุดท้ายของสุดท้าย เหนื่อยมั้ยคะกับอาชีพนี้ แล้วก็คิดว่าแบบ it's the right part of life รึยัง


A : โอเค ตอนนี้มีความสุขมาก คือตอนนี้เป้นช่วงที่มีความสุขกับชีวิตมากเลย


Q : แล้วทำงานเหนื่อยมั้ยคะ ต้องมีเข้ากะดึกดื่นอะไรอีกมั้ย


A : มันก็มีความเครียดความอะไรอยู่ challenge มันก็มีนะเวลาทำงาน แต่ว่ามันก็คือสิ่งที่เราอยากเป็นที่เราอยากได้ครับ

bottom of page