top of page
theclasstutor

ฟังเพลงขณะอ่านหนังสือ ส่งผลดีจริงหรือ?



สังเกตกันไหมคะว่า น้องๆ บางคนมีสมาธิอ่านหนังสือได้ดี เมื่อได้ใช้หูฟังฟังเสียงเพลงคลอไปด้วย ส่วนน้องๆ บางคนก็จะมีสมาธิในการอ่านที่สุด เมื่ออยู่ในที่เงียบเท่านั้น

ในช่วงทศวรรษ 1990 ทฤษฎีเพลงโมซาร์ต เป็นที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวาง และในปี 1993 มีผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า กลุ่มนักเรียนที่ฟัง “Sonata for Two Pianos in D Major” แสดงผลการทดสอบไอคิวในระดับสูงกว่าช่วงที่ไม่ได้รับฟังเพลง เมื่องานวิจัยชิ้นนี้เผยแพร่ออกไป จึงกลายเป็นความเชื่อมาถึงทุกวันนี้ว่า บทเพลงมีผลต่อการอ่านและการเรียนรู้

สิบปีต่อมา งานวิจัยหลายชิ้นตีพิมพ์เผยแพร่ผลการทดลองไปในทางตรงกันข้าม ชี้จุดสังเกตถึงข้อจำกัดในการทดลองที่ผ่านมา เช่น การวัดไอคิวจากทักษะเพียงด้านเดียวอย่างการพับกระดาษ และการแก้ปริศนา พวกเขากล่าวว่า ไม่มีข้อพิสูจน์หรือหลักฐานใดชี้ชัดว่า การฟังเพลงคลาสสิกส่งผลให้ผู้เรียนฉลาดขึ้น

แต่ก็ยังมีงานวิจัยที่ส่งเสริมทฤษฎีเพลงโมซาร์ตอยู่ว่า บุคคลทั่วไปมีแนวโน้มตอบสนองการแก้ปัญหาได้ดีเมื่ออยู่ในภาวะอารมณ์เชิงบวก

บทเพลงช่วยกระตุ้นอารมณ์เชิงบวก และช่วยให้สมองผ่อนคลาย ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่าน และการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นบทเพลงช่วยกระตุ้นอารมณ์เชิงบวก และช่วยให้สมองผ่อนคลาย ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่าน และการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม รายงานของมหาวิทยาลัยฟีนิกซ์ และจากหลายสถาบันชี้ว่า นักเรียนที่ฟังเพลงเพื่อเพิ่มการจดนั้น จำเป็นต้องเปิดเพลงคลอไปด้วยขณะทำข้อสอบ แต่เมื่อทดลองทำข้อสอบในห้องที่ไม่มีเสียงเพลง พบว่า นักเรียนดึงความทรงจำออกมายากขึ้น กล่าวโดยสรุปคือ การระลึกถึงความทรงจำเก่านั้น สมองมักทำงานได้ดีเมื่ออยู่ในบรรยากาศที่ใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่สมองบันทึกข้อมูล อีกทั้งประเภทของบทเพลงที่ฟัง ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันค่ะ

นอกจากการทำสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับตัวเองที่สุดแล้ว การรับมือกับสภาพแวดล้อมในการสอบ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องเตรียมพร้อมเช่นกันค่ะ



ที่มา : https://bit.ly/3VTzuZk

Comentários

Avaliado com 0 de 5 estrelas.
Ainda sem avaliações

Adicione uma avaliação
bottom of page