top of page
  • รูปภาพนักเขียนPararawee

อินเตอร์ VS ภาคไทย


คงเป็นคำถามของผู้ปกครองหลายๆคน รวมถึงคนที่มีลูก 2-3 ขวบที่ว่าควรจะส่งลูกเรียนที่ไหนดี โรงเรียนอินเตอร์ ดี หรือ อนุบาลใกล้ๆบ้านแล้วค่อยให้เข้าโรงเรียนอินเตอร์ตอนโตกว่านี้ แต่เอ๊ะ!! แล้วมันจะช้าไปหรือป่าว ถ้าโตก่อนแล้วค่อยเข้าโรงเรียนอินเตอร์ รวมถึงถ้าเข้าโรงเรียนอินเตอร์แล้วลูกจะได้อะไร คุ้มมั๊ยกับเงินที่จ่ายไปมากกว่าเดิมตั้งหลายเท่า

จากประสบการณ์ที่สอนนักเรียนอินเตอร์และ รร. ไทย อายุ 6-7 ขวบ จนไปถึงเข้ามหาวิทยาลัย แบบตัวต่อตัว มาเป็นเวลากว่า 10 ปี ทำให้เราได้ข้อมูลเชิงลึก เราจึงจะมาแชร์ประสบการณ์ข้อดี และข้อเสียต่างๆ เทียบกันดูเพื่อเป็นหลักในการตัดสินใจที่จะส่งบุตรหลานของท่านต่อไป

ขอย้ำอีกทีว่าจากประสบการณ์ อย่าเพิ่งเอาไปคิดเหมารวมนะครับ ถึงแม้บทความจะกล่าวในภาพรวม แต่ในแต่ละสถาบันก็มีความแตกต่างจากบทความที่จะกล่าวต่อจากนี้ไปโดย โรงเรียนไทย/อินเตอร์ บางโรงเรียนอาจดีกว่านี้หรือแย่กว่านี้ก็เป็นได้ โปรดอ่านโดยใช้วิจารณญาณของท่านผู้อ่านในการวิเคราะห์ด้วยครับ คำว่า โรงเรียนอินเตอร์ แบ่งโดย โรงเรียนที่ใช้คำว่า "International School" ส่วนโรงเรียนไทย มี รร.เอกชน และ รร.รัฐบาล ท่านอาจใช้ข้อเสนอที่จะกล่าวถึงเป็นตัวสำรวจหรือคิดทบทวนก่อนจะนำลูกเข้าเรียนก็ได้ครับ


เราจะแบ่งการพูดถึงเป็นหัวข้อดังนี้ 1. ความปลอดภัย/สิ่งแวดล้อม/การดูแลเอาใจใส่ 2. การศึกษา ทางด้านภาษาและการคำนวณ 3. การศึกษาทางด้านหลักสูตร 4. สังคมและวัตถุนิยม 5. ความคุ้มค่าและค่าใช้จ่ายต่างๆ



ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

ความปลอดภัย

รร.อินเตอร์ทั่วไปมียามรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี แลกบัตรทีสองสามรอบ รร.ไทยก็มีแต่ต้องบอกว่าแล้วแต่ว่า รร.ไหน ท่านสังเกตในจุดนี้ลองเทียบกันดูได้ครับเวลาท่านนำลูกหลานไปสมัครเรียน


อาคารและสิ่งแวดล้อม

ในหัวข้อนี้ดูเหมือนทางรรอินเตอร์จะดีกว่าอย่างแน่นอน เพราะการลงทุนสร้าง รร.ด้วยสาธารณูปโภค และ อาคารต่างๆ ค่อนข้างแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ สนามกีฬา เช่น สนามฟุตบอล สนามบาส นึกภาพรร.ไทย 1 สนาม มีประตูโกลใหญ่ 2 ประตู ทางขวางมีประตูเล็กๆอีกถึงสามสี่สนาม เวลานักเรียนจะเตะบอลก็ลงกรูกันไปมั่วไปหมด

เรื่องหญ้าไม่ต้องพูดถึงมีรร.เอกชนดีๆเท่านั้นที่มีหญ้าส่วนมากจะตายหมดเพราะถูกเหยียบย่ำอย่างหนักต่างกับ รร.อินเตอร์ที่ส่วนมากจะมีการดูแลอย่างดี สนามบาส รร.อินเตอร์ มีโรงยิม กันฝน พื้นปาเก้ แป้นอะคริลิค ห่วงมาตราฐาน บางรร. เรียกได้ว่า มาตราฐานระดับ NBA มีพื้นยางรองรับแรงกระแทก ในขณะที่รร. ไทย พื้นปูน แป้นไม้ กลางแจ้ง ฝนตกก็อดเล่น ห่วงมีตาข่ายบ้างไม่มีบ้างสนามวิ่ง รร.อินเตอร์พื้นยาง รร.ไทยพื้นดิน อาคารเรียน อินเตอร์จะติดแอร์ กระดานไวท์บอร์ดเกือบหมด ความสะอาด อาหารที่ถูกสุขลักษณะ ความสวยงาม ได้สิ่งแวดล้อมที่ดี รร. ไทยติดแอร์บ้าง ใน รร.เอกชน และแบบโอเพ่นแอร์ ฝึกภูมิคุ้มกันเด็กๆ ถ้าอยู่ ตจว. ไม่ติดเครื่องปรับอากาศอาจจะดีกว่าเสียด้วยซ้ำ ก็ไม่ค่อยน่าห่วงในจุดนี้

กระดาน ชอล์ก จะมีฝุ่นและไม่ดีต่อเด็กๆ ความสะอาด ความสวยงาม ก็จะแบ่งไปตามแต่ละโรงเรียนจากจุดนี้ท่าน โปรดพิจารณาจากค่าเทอมเทียบดูกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่ลูกจะได้รับอีกทั้งควรคำนึงถึงการจราจรจากบ้านไปโรงเรียนด้วย เพราะการเดินทางหากใช้เวลาไปกลับ 2-3 ชม. นั่นคือเวลาที่ลูกต้องอยู่บนรถ บางทีก็ให้ดูการ์ตูนบ้าง ทานข้าวบ้าง หรืออาจทดแทนด้วยกิจกรรมที่มีประโยชน์แต่ก็ทำได้ยากบนรถที่เคลื่อนที่ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำการบ้านหรือเรียนรู้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่การอยู่บนรถนานๆ ทุกวันนอกจากเสียเวลาไปทุกวันแล้วยังมีความเครียดจากการเดินทาง ซึ่งทรมาณกับลูกอย่างแน่นอน เวลารถติดนานๆเรายังเครียด เด็กก็เช่นกัน บางคนไป2ชม. กลับอีก 2 ชม. อย่าว่าเวลาเรียนรู้เลยเวลาทำการบ้านพักผ่อนก็แทบจะยังไม่มีเพราะต้องรีบเข้านอนพรุ่งนี้ต้องตื่นแต่เช้า


การดูแลเอาใจใส่

การดูแล เทียบได้โดยตรงต่อ จำนวนนร.ต่อครู ต่อห้อง นร.อินเตอร์ อัตรานร.ต่อห้องอยู่ที่ 25-35 คน ใน ขณะที่รร.ไทยบางรร. มีนักเรียน ถึง60คน ต่อห้อง เพราะฉะนั้น อัตรานร.ต่อห้องจึงสื่อถึงอัตรา นร. ต่อ ครู1คน ซึ่งขึ้นโดยตรงกับการเรียนการสอนการเอาใจใส่ดูแลของครูต่อ จำนวนนร. การที่ นร. ต่อห้องมากเกินไปนั้น ครูไม่สามารถคุมได้หมด ในรร.ไทย นร.กลุ่มหลังห้องที่ไม่ได้สนใจเรียนครูก็อาจปล่อยและสนใจเฉพาะเด็กหน้าห้องถึงกลางห้องเท่านั้น รร.ไทยที่มีครูดีๆพยายามเอาใจใส่ก็มีนะครับ

แต่ นร.รวมกลุ่มหลังห้อง เล่นไพ่ เตะตระกร้อวง ในวิชาเลขผมก็เคยเจอมาแล้ว ในขณะที่ นักเรียนรร. อินเตอร์หนักสุดก็น่าจะนั่งหลับในห้องแอบเล่นคอมและมือถือ จำนวณนร.ต่อครู สื่อถึงคุณภาพในการสอนในการเอาใจใส่โดยตรง ถ้าครูมีคุณภาพในการสอนการเอาใจใส่เท่าๆกัน



การศึกษา ทางด้านภาษาและการคำนวณ

ในจุดนี้ รร.ไทยจะได้เปรียบทางด้านการคำนวณอย่างวิชาเลขโดยเห็นได้ชัด ต้องยกให้หลักสูตรที่เข้มข้นในระดับที่เรียกได้ว่าเข้มข้นเกินไป เพราะในต่างประเทศเช่่นสวีเด็น การเรียนจริงจังควรเริ่มหลัง 5-7 ขวบ ในส่วนนี้ความคิดเห็นส่วนตัวก็คิดว่าดี เพราะเด็กเล็กควรเอาใจใส่ในการใช้กล้ามเนื้อมากกว่าการจับมานั่งเรียนกับโต้ะท่องๆๆๆจำๆๆๆ รร. อินเตอร์จึงดีกับเด็กเล็กถึง 7ขวบ จากนั้นหลัง 7ขวบก็ควรเสริมเรื่องวิชาการเข้าไปก็จะไม่ช้าจนเกินไปจนตาม รร.ไทยไม่ทันเป็นปัญหาในการสอบเข้ามหาลัยที่คะแนนเลขจะสู้เด็ก รร. ไทยไม่ได้ ในอนาคต

ส่วนทางด้านภาษาหลักๆเช่นภาษาอังกฤษ อย่าคิดว่าเรียนอินเตอร์แล้วจะมีภาษาที่ดีกว่าแม้จะฟังพูดบ่อยกว่าเพราะตำราและการสื่อสารในห้องใช้ภาษาอังกฤษหมด แต่ต้องดูอัตรา นร. ไทยใน รร.อินเตอร์นั้นๆด้วย หากมีนร.ไทยอยู่เยอะ นอกห้องเรียนเค้าก็จะพูดไทยกัน สุดท้ายได้มาบ้างแต่ไม่มากเท่าไหร่ อย่าลืมว่าภาษาได้มาจากใช้บ่อยๆ

ถ้าอยู่ในห้องเรียนใช้ทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษ แต่นอกห้องไทยหมด ก็จะสู้เด็ก รร.ไทย ที่กลับบ้านมาดูหนังเป็น Soundtrack คุยกับพ่อแม่เป็นอังกฤษ หรือเรียนพิเศษเพิ่มกับครูชาวต่างชาติ ไม่ได้ก็เป็นได้

การส่งลูกเรียน อินเตอร์ คงต้องดูลึกลงไปในรายวิชาด้วยเพราะในปัจจุบัน ครูอินเตอร์ ไม่ได้มาจาก อังกฤษและอเมริกาหมด มี ครูที่มากจาก อินเดีย และฟิลิปปินส์ ก็ไม่น้อย ที่รร.อินเตอร์เลือกใช้ บางคนอินเดียก็จิงแต่สำเนียงเป๊ะมาก คงต้องฝาก คุณพ่อคุณแม่ดูลึกลงไปอีกหน่อย



การศึกษาทางด้านหลักสูตร

หลักสูตรอินเตอร์ในไทยกว่า 80% อิงจากหลักสูตรอังกฤษ มีอเมริกันบ้าง เป็นหลักสูตรที่มีข้อดีเยอะ มีการเรียนที่หลากหลาย ภาษาที่มีมากกว่าสามภาษาให้เลือกเป็นวิชาเลือก รวมทั้งวิชา Business และ Economics ซึ่งรร.ไทยแทรกเป็นบทเล็กๆในวิชาสังคมเท่านั้น ทำให้เด็กรร อินเตอร์ได้เปรียบด้านการเรียนที่หลากหลายกว่า การที่เด็กได้เรียนรู้อะไรเยอะๆทำให้เค้าได้รู้จักตัวเองว่าชอบวิชาแนวไหน และสามารถเลือกเข้ามหาลัยที่ตรงกับความต้องการของตนเองได้

แต่ก็มีข้อเสียอยู่ ตรงที่เกิดเค้าลองเรียนแล้วไม่ชอบ เค้าจะดรอปได้ พอเค้าดรอปก็เหมือนตัดโอกาสตัวเองในทางนั้นไปเลย ซึ่งบางทีเด็กๆดรอปไปโดยยังไม่พยายามเลย เค้าอาจขาดเรียนจนทำคะแนนในวิชานั้นไม่ดี พอคะแนนออกมาไม่ดี โดยยังไม่ได้ตั้งใจเอาจิงแล้วตามเพื่อนไม่ทัน ไปดรอปนี่จะกลายเป็นการปิดโอกาสตัวเองโดยแท้

ในขณะที่ รร.ไทย คุณก็ต้องเรียนไปจนกว่าจะจบ คือ ตกไม่ผ่าน มันก็ต้องสู้จนบางคนกลายเป็นคะแนนดีขึ้นมาเรียนจนจบมหาลัย เป็นหมอ เป็น วิศวะไปเลยก็มีจากวิชาที่เคยไม่ชอบ

การเรียน รร. อินเตอร์ จะมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบด้านภาษาอยู่เหมือนกัน เช่น วิชา Biology เค้าเรียนอวัยวะและเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ต่อเมืองนอกสบายไม่ต้องปรับ ถ้าเรียนไทยมาก็ต้องมาท่องใหม่อยู่

เรียนคนละแบบสอนคนละแบบเลขเรียนมาแบบอินเตอร์ก็จะมีศัพท์และชินกับโจทย์เลขที่เป็นภาษาอังกฤษ ถ้าโจทย์ยาวๆเป็นอังกฤษเด็กอินเตอร์จะได้เปรียบ แต่พอมาถึงสมการย้ายข้างจะเสร็จเด็ก รร. ไทยเกือบหมด

การเรียนอินเตอร์แบ่งออกเป็น ระดับ IG และ A LEVEL ส่วนไทยก็ ประมาณ ม 4 5 6 ตรงนี้เมื่อก่อน ไทยจะเนื้อหาแน่นกว่า เพราะอินเตอร์ (ปี2016) จบแค่ IG จะเข้ามาหาลัยได้เลยซึ่งเนื้อหาสายวิทย์ (เคมี อังกฤษ ชีวะ)เทียบเท่ากับไทยประมาณ ม4-ม5 เท่านั้นพอเข้ามหาลัยส่วนมากจะเรียนไม่ไหวเรียนสู้เพื่อนไม่ได้หรือได้ก็คะแนนไม่ค่อยดี มีเพียงส่วนน้อยที่จะเรียนได้เกรดดีๆ เรื่องนี้เป็นที่หลักสูตร หาก นร. มีการเรียนพิเศษเพิ่มเติมก็จะเพียงพอ แต่พอปี2017ขึ้นไป นร.อินเตอร์ต้องเรียน A level ถึงจะจบ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกสองปี ตรงนี้เลยดูเหมือนจะช้ากว่าไทยไป 1 ปี ถ้าต่อมหาลัยที่ไทย แต่ถ้าต่อที่อังกฤษจะเรียนมหาลัย 3 ปี ซึ่งก็จะเท่าๆกัน ด้านหลักสูตรคงต้องมาลงรายละเอียดในคราวต่อไปเพราะ แต่ละสาขาที่เรียนต่อ ก็มีข้อดีข้อเสีย ต่างกันไป



สังคมและวัตถุนิยม

เราจะแบ่งเป็นส่วนแรกคือเด็กๆเลย

เราคิดว่าสังคมเด็กอินเตอร์น่าจะดีกว่า แต่แท้จิงแล้วก็มีข้อเสียอยู่ไม่น้อย รร. ที่รวมไปด้วยเด็กที่ค่อนข้างมีฐานะ จะถูกทดสอบวัตถุนิยมอย่างหนักมือถือรุ่นอะไร iphone นี่สมัยนี้เด็กมีทุกคน ถึงแม้จะมีชุดนร. แต่ห้องเรียนมันหนาว เสื้อกันหนาวยี่ห้ออะไรหละ รองเท้ากีฬา อุปกรณ์อะไรต่างๆ ถ้าไม่มีก็จะรู้สึกด้อยกว่าเพื่อน ถ้าพ่อแม่มีเวลาสอนลูกให้เข้าใจได้ก็จะมีปัญหาน้อยในจุดนี้ แต่พอไม่มีเวลาประกอบกับลูกขอพ่อแม่ก็อยากตามใจ พ่อแม่ไม่ให้ ปูย่าตายาย ก็จะใจดี มีหรือจะไม่ให้งานเลี้ยงวันเกิด บางทีก็หรูมาก เพื่อนจัดใหญ่แล้ว พอถึงคราวลูกเราบางทีก็ไม่อยากน้อยหน้าตรงส่วนนี้เด็กก็จะซึมซับและติดวัถุนิยมไปโดยส่วนใหญ่ส่วนมากจะไม่รอด

ในขณะที่รร. ไทย จะมีความหลากหลาย พ่อแม่ที่มีฐานะไม่แพ้อินเตอร์ก็มีแต่ก็จะมีสัดส่วนที่น้อยกว่าทำให้ความเสี่ยงต่อการติดวัตถุนิยมน้อยกว่าเด็ก รร.อินเตอร์ ไปเดินห้างกับเพื่อนย้ำว่าเพื่อนจิงๆไม่ใช่แฟนกัน เพื่อนอยากได้ไอโฟนเลยซื้อให้เพื่อนก็มี

ความเคารพครูเด็กอินเตอร์จะมีน้อยกว่าไม่ใช่การไม่สวัสดี การสวัสดีขอบคุณยังมีตามปกติ เพียงแต่ความนอบน้อม อ่อนน้อมถ่อมตน เด็ก รร. ไทยจะมีมากกว่าในจุดนี้


ในส่วนสังคมที่โตขึ้นมาหน่อย

เราต้องยอมรับว่าการเลือกเรียนที่ไหน จริงๆเปรียบเสมือนการเลือกสังคมที่เราจะอยู่ในอนาคตโดยเราไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เราโตมาเราจะไปเจอเพื่อนอีกที ไม่เพื่อน ม.ปลาย ก็ เพื่อน ป ตรี การไปงานแต่งงาน งานศพพ่อแม่เพื่อนก็มักจะเป็นเพื่อนในวัยนั้น

นั่นก็รวมถึงเพื่อนที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือคำปรึกษา พูดคุย มีกลุ่มไลน ทั้งปัญหาชีวิต ส่วนตัว และปัญหาทางธุรกิจ ก็จะเป็นเพื่อนในวัยนั้นเช่นกันดังนั้น การเลือกที่จะเรียนที่ไหนส่งผลต่อสังคมในอนาคตเราด้วย

การส่งลูกเข้าเรียน รร อินเตอร์ ก็คัดกรองมาด้วยฐานะทางครอบครัวด้วยเช่นกันอาจทำให้เค้ามีคอนเนคชั่นที่ดีในอนาคต แต่ รร. เอกชนไทยก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ากันมากนักดังนั้นการส่งลูกเรียนที่ไหนในช่วง ม.ปลาย และ มหาวิทยาลัยเราควรคำนึงถึงจุดนี้ด้วย บางครอบครับถือว่านี่คือการลงทุน ด้วยซ้ำไป



ความคุ้มค่าและค่าใช้จ่ายต่างๆ

การส่งลูกเข้าเรียน เราจะดูแต่ค่าเทอมและค่าบริจาคให้ รร.ก่อนเข้าเรียน อย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะเข้าเรียนแล้วก็จะมีค่าใช้จ่ายต่างๆตามมาอีก กิจกรรมของ รร.การไป Outing Trip ต่างๆ การส่งลูกเข้าเรียน อินเตอร์ดูจะแพงกว่า 2-3 เท่า แต่ถ้าคิดค่าหอพักรวมด้วย อาจแพงกว่าถึง 5-10 เท่า รร. เอกชน ที่มี EP program ก็ค่าใช้จ่างสูงเทียบเท่าโรงเรียนอินเตอร์ก็มี ในจุดนี้คงต้องพิจารณาเทียบกันแต่ละโรงเรียนไป

อย่าลืมว่า เด็กทุกคน มี ป่วย มีขาดเรียน นึกภาพถ้าส่งลูกเรียน รร. แพงๆแล้วลูกป่วยไปสองอาทิตย์หรือ รร. ปิด เพราะมีโรคระบาด หรือ ลูกเป็นนักกีฬา ต้องลาเรียนไปแข่ง ความคุ้มค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อโรงเรียนที่ดี ควรพิจารณากับสิ่งที่เด็กได้รับจริงๆ ซึ่งรวมถึงข้อเสนอจากสี่ข้อข้างต้นร่วมด้วย

อย่าลืมว่า ลูกเราไม่ได้ใช้เวลา24ชม ที่ โรงเรียน ไปรร. ก็แค่7ชม จะฝากทุกอย่างไว้ที่รร.หมดคงไม่ได้ การกลับมาบ้านอยู่บ้านก็เป็นเวลาไกล้เคียงกัน ไม่นับเวลานอน การกลับมาบ้านก็ต้องใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ได้รับการเอาใจใส่จากคนในครอบครัว

ใช้เวลาพูดคุยกับคนในครอบครัวเค้าก็จะซึมซับการสอนอุปนิสัย การแก้ปัญหาแนวคิดต่างๆโดยธรรมชาติ

เพราะฉะนั้นนั่นก็คือเวลาอีกส่วนที่เค้าต้องอยู่ กับ พ่อ แม่ ปู ย่า ตา ยาย พี่เลี้ยง คนขับรถ ใครคือคนที่เค้าจะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด หรือจะเป็น ทีวี มือถือที่เค้าใช้เวลา เค้าใช้เวลากับอะไร นั่นก็คืออีกส่วนที่หล่อหลอมเป็นตัวเค้าในอนาคต


เด็กในวันนี้ทุกคนมีอนาคต และ อนาคตของเค้าคืออนาคตของเราประเทศของเราและโลกของเรา

ดู 29 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page