top of page

ทำรู้จักคณะ BAScii คณะสำหรับเด็กรุ่นใหม่ไฟแรง

อัปเดตเมื่อ 1 มี.ค.

วันนี้ทาง #theclasstutor จะพามาเปิดบทสัมภาษณ์ "น้องแท้" นักศึกษาคณะ #Bascii #CU คณะที่สร้าง Startup รุ่นใหม่ ! มาดูกันว่าคณะนี้เขาเรียนอะไรกันบ้าง| Exclusive Interview | Theclasstutor


น้องแท้ - ครูกอล์ฟ
น้องแท้ X Theclasstutor

ครูกอล์ฟ: สวัสดีครับน้องแท้ สวัสดีครับ เดี๋ยวแท้แนะนําตัวเองนิดนึงครับ


น้องแท้: สวัสดีครับชื่อ นายแท้ เตชานุกูลชัย นะครับ ตอนนี้อายุประมาณ 20 ครับ ปัจจุบันเรียนอยู่ Bascii จุฬาฯ ครับผม


ครูกอล์ฟ: แท้เนี่ยเป็นรุ่นที่เท่าไหร่


น้องแท้: แท้เป็นรุ่น Bascii 003 ครับ รุ่นที่สามครับ


ครูกอล์ฟ: แสดงว่ามีรุ่นพี่ที่จบไปก่อนแล้วใช่ไหมครับ


น้องแท้: เพิ่งจบไปล่าสุดเลยครับ


ครูกอล์ฟ: คณะนี้เป็นที่สนใจมากเพราะว่าจุฬาเปิดตัวมาตอนนั้นก็ได้รับความสนใจค่อนข้างเยอะ เรียกได้ว่าคณะนี้เรียนไปจะจบไปเป็นไรครับ


น้องแท้: คืออยากจะบอกว่า คณะนี้มันไม่เหมือนกับพวก Engineer หรือว่า BBA อย่างคุณ major ใน finance คุณจบไปทําเกี่ยวกับ finance หรือว่าคุณ เรียน engineer แล้วจบไปทําเกี่ยวกับ engineering มันไม่ใช่ครับ Bascii เราจะค่อนข้างเหมือนเป็นเป็ดครับ เราจะทําได้หลายอย่างครับ แล้วส่วนใหญ่ทุกคนที่เข้า Bascii อะครับ ถามจริงก็คือยังไม่ค่อยจะรู้ว่าเป็นอะไรนะครับ ตอนนี้รุ่นพี่ที่จบไป ก็จะมีเข้า consultant เข้า marketing เข้าเป็น management trainee หรือเข้าพวก app ดัง ๆ อย่าง line , agoda อะไรพวกนี้


ครูกอล์ฟ: สรุปว่าคณะนี้ตอนนั้นที่แท้เลือก คณะเขาโปรโมทว่าเรียนคณะนี้จบไปเป็นอะไร


น้องแท้: ที่เขาโปรโมทหลัก ๆ เลยนะครับ คือเรื่อง startup ครับ เขาชูว่าถ้าเราเข้าไปคณะนี้ เราจะสามารถลงมือทําจริงเลย ในธุรกิจ startup ซึ่งมันเป็นสิ่งที่กําลังเป็น upcoming trend อยู่ คนส่วนใหญ่ก็สนใจครับ


ครูกอล์ฟ: ฟังแล้วนึกถึงรายการ...รายการหนึ่ง shark tank เคยดูใช่ไหม


น้องแท้: เคยดูครับ


ครูกอล์ฟ: มันก็จะมีคนมาเสนอแล้วก็เป็น startup แล้วก็จะมี value investor มาลงทุนคณะนี้เป็นลักษณะนั้นเลยไหม


น้องแท้: พูดว่าเป็นลักษณะนั้นก็ได้ เพราะคณะนี้เราปูพื้นฐานให้เด็กของเราสามารถเข้าไปได้ connection พวกนั้น แล้วก็สามารถไป pitch กับพวก investor ได้ แล้วถ้าไอเดียเราดีจริง ๆ เราก็ไปได้ไกลเลยครับ


ครูกอล์ฟ: ก็เท่ากับว่าเหมือนกับเรียนกว้างเลย


น้องแท้: กว้างเลยครับ


ครูกอล์ฟ: แล้วจะวิศวะก็ต้องมีความรู้ เพราะว่าต้องทําแอปฯ ทําอะไร ก็ต้องไปรู้ไอทีด้วย เกิดมีไอเดียทางด้านเกี่ยวกับทางการแพทย์ขึ้นมา ก็ต้องไปเรียน มีอีกเหมือนกัน


น้องแท้: มีครับ


ครูกอล์ฟ: พอจะเล่าอะไรได้บ้างไหมเกี่ยวกับสตาร์ทอัพมันเป็นความลับไหม สตาร์ทอัพของเพื่อน ๆ หรืออะไรอย่างนี้ อยากฟังว่าเด็ก ๆ คณะนี้ คิดอะไรกันบ้าง มีอะไรเจ๋ง ๆ บ้าง


น้องแท้: ของเพื่อนแท้ชื่อ Carsup ครับ อันนี้ตัวเต็งของคณะเลย เขาแข่งเยอะมากครับคนนี้ เขาแข่งชนะ Chula Startup ครับ ได้ที่ 1



Project จากนิสิตคณะ BAScii
CarsUp

ครูกอล์ฟ: เดี๋ยวนะครับ Chula startup คือเป็นการแข่ง startup ภายในจุฬาฯเองเลยเหรอครับ


น้องแท้: ใช่ เป็นรายการแข่งครับ


ครูกอล์ฟ: นักศึกษาต้องปีไหนถึงจะเข้าไปแข่งได้ครับ


น้องแท้: ได้หมดครับ มันจัดปีละครั้ง


ครูกอล์ฟ: แล้วมีทีมเข้าแข่งขันประมาณกี่ทีมครับ


น้องแท้: หลายร้อยทีมครับ เขาจะคัดเหลือแค่ 10 แล้วคนนี้ได้ที่ 1 ต่อมาเขาชนะกรุงเทพฯ สตาร์ทอัพด้วย แล้วก็ Thailand Startup ได้ที่ 2 แล้วก็ไปแข่ง Global ด้วย ผ่านเข้ารอบ Semi final


ครูกอล์ฟ: มีคนมาลงทุนจริง ๆ แล้วหรือยังครับ


น้องแท้: มีแล้วครับ จากที่ทราบมาได้เป็นหลัก 7 หลักแล้ว ไอเดียของเขาจะเป็นเหมือนแพลตฟอร์มให้คนเข้ามาสอบถามเรื่องอู่รถอะครับ คือบางคนอาจจะมีปัญหาว่าขับรถอันนี้แล้ว ไม่รู้จะไปอู่ไหน เขาก็จะสามารถหาอู่ให้แล้วจบในทีเดียวได้เลยครับ



รายการแข่งขันสำหรับ Start up ไทย
CU Start up thailand

ครูกอล์ฟ: แสดงว่าคณะนี้ก็ต้องออกไป explore ด้วย


น้องแท้: คือคณะนี้เราปูพื้นฐานให้ แต่ว่าเด็กก็ต้องแนะนําให้ไปแข่งเยอะด้วยครับ จุฬาฯเราจะ offer เคสให้แข่งบ่อยอยู่ครับ มันจะมีเคสนู่นเคสนี่ แล้วมันจะมีรายการใหญ่ ๆ ของปี 2 อันเลย ก็คือ chula startup แล้วก็ CEO Chula แล้วเมนเทอร์ของ CEO Chula นี่คือท็อป ๆ ทั้งนั้น มันจะมี 2 สาย สาย product กับสายอาหาร อย่างสายอาหารมันก็จะมีพวกเมนเทอร์จากร้านอาหารที่สําเร็จแล้วอย่างเช่น potato corner สาย product ส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อผ้า พวกเสื้อผ้าวัยรุ่น madmatter studio พวกที่อยู่ตามห้าง เป็นเมนเทอร์ตามห้างหมดเลย ถ้าเรียนแล้วนอกจากได้ความรู้แล้ว ได้การที่แบบบี้ขยี้ให้ล้มบ่อยๆ แล้วลุกขึ้นมาใหม่แล้ว ก็ยังได้คอนเนคชั่นด้วย ก็มีคอนเนคชั่นกับเมนเทอร์ แล้วคณะแพทจัด seminar ให้พวก angle investor หรือว่าคนที่สําเร็จในสตาร์ทอัพมาด้วย คุณท็อปจาก bitkub เค้าก็มาพูด แล้วก็คุณ shannon จาก shark tank เค้าก็มาพูด เหมือน shark tank ก็เข้าไปล้วง เผื่อจะเจอสตาร์ทอัพเจ๋ง ๆ ตั้งแต่เด็ก ๆ



ครูกอล์ฟ: เจ๋งมากเลยครับ ได้ฟังวันนี้แล้วรู้สึกเดือดมากคณะนี้ ก็เป็นคณะที่สร้างมาเพื่อสตาร์ทอัพแล้วเท่าที่ฟังดูมันก็ไม่ได้เป็นแค่คําเปรยด้วย เพราะว่าคนที่เรียนก็ต้องสู้รบปรบมือกับเหตุการณ์ที่จําลองเหมือนเหตุการณ์จริงด้วยซ้ํา แล้วก็เอาไอเดียมาล้มบน paper ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่แบบฟังดูแล้วมันเป็นไปได้จริง ทีนี้อยากย้อนกลับไปก่อนตอนที่แท้เลือกคณะนี้ แล้วต้องใช้คะแนนอะไรเข้าคณะนี้บ้างครับ


น้องแท้: คณะนี้ต้องใช้ ielts กับ sat ครับ


ครูกอล์ฟ: ปีที่แท้เข้าตอนนั้นใช้ประมาณเท่าไหร่


น้องแท้: ielts ต้องเกิน 6 ไม่ก็ 6.5 ครับ แล้วก็ sat ถ้าได้ไว้สัก 1,300 น่าจะเซฟครับ


ครูกอล์ฟ: แต่ตอนนี้เหมือนจะเยอะขึ้นเรื่อยๆ


น้องแท้: ใช่ครับ เพราะว่ามันเป็นที่นิยมคนอยากเข้าเยอะ


ครูกอล์ฟ: เข้าไปปี 1 เรียนอะไรอะ


น้องแท้: ปี 1 เลยนะครับ เราก็จะเรียน finance ครับ แล้วก็จะมี math คล้าย ๆ math a-level อะครับ


ครูกอล์ฟ: แสดงว่าจะเรียนคณะนี้ได้ ต้องมีเลขมานะ


น้องแท้: ปี 1 ต้องมีเลขครับ แล้วก็ต่อมาจะมี justice for innovators ครับ


ครูกอล์ฟ: คืออะไร


น้องแท้: เรียนเรื่องความยุติธรรม ในการที่เราจะเป็น innovators เราต้องมีการใช้ความยุติธรรมในการตัดสินใจด้วยครับ แล้วก็จะมี entrepreneurship ก็จะสอนวิธีการเป็น entrepreneur แล้วต่อมาที่สําคัญที่สุดเลย ก็คือ project seed ครับ ซึ่งจะเป็นปีแรกที่ให้เริ่มทําสตาร์ทอัพเลยครับ ซึ่งเทอมแรกของปี 1 นี่นะครับ เขาก็จะสอนเรื่องวิธีการทําสตาร์ทอัพโดยคร่าว ๆ ก่อน ยังไม่ได้ให้จับทีมฮะ เทอมแรก ให้ไปมองก่อนว่าอยากอยู่กับใครอะไรอย่างนี้ ทีมหนึ่งส่วนใหญ่ก็จะ 3 คนขึ้นไป maximum ไม่เกิน 5 คน แต่วิชานี้อยากจะบอกว่าที่มันโดดเด่นเลยก็คือ มันสามารถเอาคนในคณะอื่นเข้ามาทําได้ด้วย แต่ว่าเขาไม่ได้คะแนน BAScii นะ แต่ว่าเอามาอยู่ในทีมได้ด้วย ก็คือเหมือน BAScii เราทําเรื่องพวกสตาร์ทอัพเก่งใช่ไหมครับ แต่ว่าถ้าสมมุติเราต้องการคนมาทํา finance ให้โปรเจกต์เรา เราก็สามารถไปดึงคนใน BBA มาได้ หรือถ้าอยากให้คนทําโปรแกรมให้เรา เราก็ไปดึงคนใน ISE มาช่วยได้




Chulalongkorn University
International School of Engineering (ISE)


ครูกอล์ฟ: เรียกได้ว่าเราเป็นคนต้องเป็นคนคิดไอเดียขึ้นมา แล้วถ้าไอเดียของเราจะต้องใช้คนใน expert ทางด้านไหน ก็ต้องไปดึงคนๆนั้นมาอยู่


น้องแท้: ประมาณนั้นครับ


ครูกอล์ฟ: ก็แสดงว่าหนึ่งชั้นปี ก็มีประมาณ 20 ทีมได้ ครูคํานวณถูกไหม ประมาณ 3-5 คน จาก 100 คน


น้องแท้: ประมาณนั้นครับ


ครูกอล์ฟ: บรรยากาศในการเรียนเป็นไง 20 ทีมนี้คือต่างคนก็ต่างเสนอไอเดียกัน เพื่อจะพยายามทําตัวเป็นสตาร์ทอัพกันหมดเลย


น้องแท้: คือเทอมแรกมันจะเรียน fundamental พื้นฐาน ของการทํา startup พวก validate pain point คุณต้องทํายังไง ส่วนเทอม 2 เขาจะเริ่มให้จับทีม แล้วก็มีไอเดียอะไร เราก็ต้องเสนอไอเดียไปให้เขา หนึ่งอาทิตย์มั้งครับปีหนึ่ง แล้วเราต้องอัปเดตกับเขาทุก ๆ หนึ่งอาทิตย์ ที่เจ๋งของ BAScii คือ เราจะมี connection mentor ครับ เราจะคัด mentor จากหลาย ๆ แห่งมาในประเทศไทยครับ ที่เขาทํา startup อยู่แล้ว พวกนี้เขาจะสละเวลามาเป็น mentor ให้เรา meet กับเขาอาทิตย์ละ 1 ชั่วโมงอะไรประมาณนี้


ครูกอล์ฟ: มียกตัวอย่างไหมครับ mentor เช่นใครอะไรบ้างที่เป็นที่รู้จัก


น้องแท้: อย่าง mentor ของกลุ่มแท้ปีที่แล้วชื่อ kastytis อะครับ เขาเป็น incubtator อินคิวเบเตอร์คือคนที่เหมือนเป็นคนฟักไข่ให้สตาร์ทอัพโตขึ้นไปอย่างนี้อะครับ เขาเป็นคนลิทัวเนีย แล้วเขาก็ทําบริษัทอยู่


ครูกอล์ฟ: แสดงว่าเมนเทอร์ที่มาเป็นเมนเทอร์จากต่างประเทศ


น้องแท้: มีทั้งไทย ทั้งต่างประเทศครับ


ครูกอล์ฟ: แล้วเวลาเราคุยกับ mentor เขาช่วยอะไรเราบ้างครับ


น้องแท้: ส่วนใหญ่เลยนะครับเขาจะกรองไอเดียเราก่อน ว่าไอเดียเรามันเป็นไปได้ไหม ถ้าเขาคิดว่ามันมีอะไรที่ต้องปรับ เขาจะให้เราไปเริ่มใหม่หมดเลย ไป validate ใหม่ ไปสัมภาษณ์ 50 คนอย่างเงี้ย แล้วเอาผลมาบอกเค้าว่าเป็นยังไงบ้าง


ในห้องเรียน
บรรยากาศการเรียน


ครูกอล์ฟ: แสดงว่า pain point ที่เราคิดเองอะเราเป็นไอเดียเรา บางครั้งมันอาจมาจากจินตนาการของเราแต่เค้าให้ไป valiedate ไปสัมภาษณ์คนอื่นว่ามันเป็นคนอื่นด้วยหรือเปล่า


น้องแท้: ทุกคนคิดว่าการทํา startup มันเป็นสิ่งที่สวยหรูทําออกมาแล้วจะสําเร็จ แต่ไม่ใช่ครับ 99 เปอร์เซ็นต์เลยมันจะเฟลส่วนใหญ่ BAScii มันสอนให้เรา fail on paper ก่อน ไม่ได้ไปเฟลในชีวิตจริง เรา fail on paper ก่อนเรายังมีสิทธิ์แก้ แต่ fail ในชีวิตจริงแล้วนี่โอ้โหเราเสียตังค์ด้วย ก็ไม่ค่อยจะคุ้มกันเท่าไหร่


ครูกอล์ฟ: บางคนก็ไม่ชินกับการเฟล เฟลเสร็จไม่มีเมนเทอร์เขาก็ลุกขึ้นมาไม่ได้ด้วยนะ ฟังแล้วรู้สึกเหมือน คุยกับนักธุรกิจที่กําลัง start up แสดงว่าเดือดตั้งแต่ปี 1 แล้วสิ เพราะว่าปี 1 ก็เริ่มตั้งแต่ทำ seed project ก็เริ่มมีไอเดียกัน แล้วสมมุติในกลุ่มห้าคน เราเริ่มไอเดียขึ้นมา ทุกคนก็ช่วยไอเดียอันเดียวหรือเปล่าหรือถ้าเกิดมีหลายไอเดียขึ้นมาล่ะจะเป็นยังไงครับช


น้องแท้: คือมีหลายไอเดียที่จริงมันทํามันก็ทําได้แหละครับ แต่ว่าเขาอยากจะให้โฟกัสไอเดียนึงไปก่อนเลย เพราะว่าแบบทีม ๆ นึง มันก็ต้องแบ่งหน้าที่กันครับ คนนี้ทํา marketing คนนี้ทํา UX UI design คนนี้ทํา finance อะไรอย่างนั้น


ครูกอล์ฟ: ปี 1 ก็เดือด แล้ว ปี 2 จะเป็นยังไงครับ


น้องแท้: ปี 2 นี่ค่อนข้างจะ intense มากขึ้นครับ ปี 1 เขายังคิดว่าเราเพิ่งฟอร์มกลุ่ม เขาก็ยังจะไม่เร่งงานเราเท่าไร พอขึ้นปี 2 เขาจะเปลี่ยนชื่อวิชา ไม่ใช่ project seed แล้ว เป็น production entrepreneur อะไรสักอย่าง ก็จะ meet กับ mentor สิ่งที่สําคัญที่สุดของวิชานี้ คือเขาจะให้เรามี millestone คือเราต้องเซตไว้เลยว่าอาทิตย์นี้จะทําอะไร เดือนนี้จะทําอะไร แล้วเราต้องเขียน reflection ทุกอาทิตย์ คืองานมันต้องเดินแน่นอนฮะ ถ้าไม่เดินก็ไม่ได้เกรด ทุกอาทิตย์อะครับ เราต้องทําตาม millestone แล้วถ้าเราทําตาม millestone ไม่ได้อะครับ เราก็ต้องไปเขียนว่า ทําไมเราถึงทําไม่ได้ หรือว่าเราต้องแก้อะไรระหว่างอาทิตย์ ก็เหมือนกับเราได้เรียนรู้ไปด้วยว่าอันนี้มันไม่เวิร์ค อะไรอย่างงั้นอะครับ


Project list.
Milestones


ครูกอล์ฟ: คือเหมือนบังคับให้เราคิดอะไรใหม่ๆ เพื่อจะทําให้เราสตาร์ทอัพ คือเรา sign up for this ก็เอาจริงจังอะก็คือในเมื่อคุณมาเพื่อจะทําสตาร์ทอัพอะ ก็ทําให้มันสําเร็จสิ มีความเดินหน้าสิ ไอเดียที่คาไว้มันได้ไม่ได้ยังไงมันก็ต้องมีเหตุและผล


น้องแท้: ใช่ ตัดทิ้งก็ไปเริ่มใหม่ แท้ไปเริ่มใหม่มาสองรอบแล้วครับ


ครูกอล์ฟ: ครั้งแรกรอบแรกก่อนที่มันจะโดนตัดเริ่มใหม่ใช้เวลาไปแล้วเท่าไหร่


น้องแท้: เทอมนึง


ครูกอล์ฟ: เทอมนึงก็ประมาณ 3-4 เดือน แล้วไอเดียที่สองใช้เวลาไปอีก


น้องแท้: อีกประมาณอีกเทอมนึง แล้วก็เริ่มใหม่อีกครับ


ครูกอล์ฟ: พี่ว่าอันนี้เป็นคีย์เลยนะ คือแม่งเป็นคีย์ที่ให้เริ่มใหม่ เริ่มใหม่จนชิน


น้องแท้: คือ mentor เขาบอกตลอดว่าการเริ่มใหม่ ไม่ใช่เรื่องที่แย่ครับ มันเป็นสิ่งที่ดี คือเรา fail fast เราก็ learn fast แล้วเราสามารถทําให้เราแข็งแกร่งขึ้น แล้วก็สามารถอาจจะออกโปรดักต์ออกมาได้ดีขึ้น


ครูกอล์ฟ: มันเหมือนแบบในเมื่อคุณจะเป็นสตาร์ทอัพได้คุณก็ต้องเรียนรู้ที่จะล้มแล้วก็ลุกให้ไวด้วย แล้วก็บี้ขยี้สุดๆ


น้องแท้: แต่นี้ยังดีครับเพราะว่าเราเรียนคณะนี้เหมือนเราได้อยู่ในโลกของ simulation ในการทําสตาร์ทอัพ

ถ้าคุณออกไปในชีวิตจริงแล้วคุณไปทํา โอ้โฮ รับรองเสียเงินแน่นอน อันนี้คือมันปูให้เราเห็นว่าแบบ ในโลกความเป็นจริงมันเป็นยังไง แล้วเราต้องทําอะไรบ้าง ถึงจะเห็นว่าไอเดียนี้มันมีศักยภาพจริงๆ


ครูกอล์ฟ: แล้วตอนนี้ขึ้นปี 3 แล้ว เป็นไงบ้างครับ


น้องแท้: ปี 3 จะบอกว่าค่อนข้างจะหนักครับ เผลอๆหนักกว่าปีหนึ่งอีกครับ คือพอขึ้นปีสองแล้วเด็กจุฬาฯหรือว่าเด็กที่อยู่มหาลัยไทย มันต้องทํา GenEd ด้วยครับ มันก็ต้องเลือก GenEd ด้วยตัวหนึ่งใช่ไหมครับ คณะเราเห็นว่าเราเป็นนักธุรกิจ เขาก็เลยจะบังคับให้เราเรียนภาษาที่สาม ซึ่งจะมีให้เลือกเป็นญี่ปุ่น จีน แล้วก็เกาหลี เราไม่ต้องเรียนตอนปี 3 ก็ได้ แต่ว่าตอนปี 4 ยังไงก็ต้องไปเก็บ แท้ก็เลือกที่จะเรียนตอนปี 3 ไปก่อน

ต่อมาก็จะเรียนเทคโนโลยี innovation เป็นวิชาของ ดร. Pietro Borsano สอนเรื่องเกี่ยวกับการที่เราเอาเทคโนโลยี เข้าไปใช้ได้ในเกี่ยวกับสตาร์ทอัพของเรา หรือ business ของเรา แล้วก็จะมี apply AI หลังจากที่มีแชท ChatGPT มา คนก็ใช้กันเยอะใช่ไหม วิชานี้ก็จะสอนให้ใช้ prompt ChatGPT ให้ตอบได้ดีกว่าคนปกติ


AI Program
ChatGPT Prompt Formula


ครูกอล์ฟ: คือคณะอื่นเขาใช้ ChatGPT ในการทํารายงานโกงเพื่อจะเอาไปส่ง อันนี้คือบังคับให้ใช้เลย


น้องแท้: ใช่ บังคับให้ใช้เลย แล้ว specialized มันก็มีให้เลือกแบบ data analytics อะไรอย่างนี้ครับ แต่แท้เลือก principles of pharmacy เพราะแท้ทําเกี่ยวกับแปรงสีฟันครับ เผื่อจะได้รู้เรื่องเกี่ยวกับ health มากขึ้น แล้วแท้ก็เลือก public health innovation ด้วยครับ


ครูกอล์ฟ: ฟังดูมันเดือดมากเลย เดือดตั้งแต่ปี 1 แล้ว ปี 2 ปี 3 ก็ยังเดือดอยู่ เห็นเล่าว่าปี 4 ไม่ต้องเรียนแล้วเหรอครับ


น้องแท้: คือก่อนจะไปปี 4 อยากจะบอกว่าปี 3 เทอม 2 ก็ไม่ต้องเรียนที่คณะแล้วนะฮะ เพราะว่าเราไป exchange ครับ คณะบังคับให้ทุกคนไป exchange ถ้าไม่ไปต้องฝึกงาน ซึ่งที่จริงมันก็ควรฝึกงานตั้งแต่ปี 2 ตอนปิดเทอมแล้วอะครับ แต่ว่าถ้าปี 3 สมมติเทอม 2 ไม่ไปยังไงก็ต้องฝึก ซึ่งคณะก็จะมีพาร์ทเนอร์

ซึ่งพาร์ทเนอร์ที่เด็ดที่สุดของคณะคือ UC Berkeley ซึ่งแต่ละปีจะรับประมาณ 10 คนจากคณะ แล้วก็จะมี NUS ของสิงคโปร์อะครับ แล้วก็จะมี UAL Kyushu ของญี่ปุ่นอะไรประมาณเนี้ยครับ ซึ่งทางจุฬาฯ ก็จะ offer ของทางจุฬาฯเองด้วย ก็คือ OIA แท้ไม่ได้ไปของทางคณะ แท้เลือกที่จะไปสมัครของ OIA ตอนนี้แท้ไป KTH ที่สวีเดนครับ


ครูกอล์ฟ: OIA คืออะไรครับ


น้องแท้: OIA ก็คือมันจะเป็นโปรแกรม exchange ของจุฬาฯ แท้ไม่ได้สมัครของคณะ แท้สมัครของจุฬาฯ แทน ซึ่งจุฬาฯก็จะมีที่ให้เลือกเป็น 100 ที่ แต่ว่าเราก็ต้องไปแข่งกับเด็กจุฬาฯคณะอื่นด้วย แต่ของคณะแท้จะมีโควตาได้เฉพาะคณะแท้ด้วย


ครูกอล์ฟ: โอเค แล้วปี 4 ทำไร


น้องแท้: ปี 4 อยากจะบอกว่า เหมือนเป็นปีที่เราจะโฟกัส capstone project ซึ่ง capstone project เขาให้เลือกว่า เราจะทํา family business เราจะทําสตาร์ทอัพของเราต่อ หรือว่าเราจะไปทําฝึกงาน แล้วบริษัทที่เราไปฝึกด้วย เขาจะทําให้โปรเจกต์เรามาทําแล้วให้อาจารย์เราช่วย evaluate ว่าเราผ่านไหม ซึ่งเขาจะให้เราโฟกัส capstone project โดยตรงเลยครับ ซึ่งปี 4 เนี่ย ถ้าใครยังเก็บ GenEd ไม่ครบ ก็ต้องไปเก็บให้ครบครับ

แล้วก็ภาษาที่ 3 ถ้าใครไม่เรียนปี 3 หรือดรอปไป ก็ต้องมาเรียนตอนปี 4 เขาอยากจะให้โอกาสเราโฟกัสในการทํา capstone project เสียเป็นส่วนใหญ่ครับ เพราะตอนสุดท้ายตอนจะจบเนี่ย ต้องมี final deliverable แล้วต้องมานําเสนอใหญ่โตอลังการเลยครับ


ครูกอล์ฟ: สิ่งนี้เท่าที่ฟังดูสตาร์ทอัพเวลาเรามีไอเดียเสร็จปุ๊บเราอยากจะทํานู่นทํานี่ทํานั่น อย่างเช่น Carsup อย่างนี้ ถ้าสมมุติว่าต้องเดินทาง ต้องมีค่าใช้จ่าย ต้องเริ่มเขียนแอป จะต้องจ้างคนมาทํา ก็ต้องมีการใช้เงิน ต้องออกตังค์ไหมครับ


น้องแท้: คือมันก็ต้องมีออกตังค์กันเองด้วยแต่ว่าทางคณะจะให้งบมาทีมละประมาณ 100,000 บาทครับ  ใช้ทั้ง 4 ปีเลยนะฮะ 100,000 บาท ถ้าสมมุติว่าใช้ไปแล้ว แล้วเป็นไอเดียที่ปัดทิ้งแล้วให้เริ่มใหม่ ก็หายไป


นำเสนอไอเดีย
บรรยากาศการเรียน


ครูกอล์ฟ: ก็เรียกได้ว่ามีเงินทุนจากคณะมาสนับสนุนอยู่ แต่ว่าส่วนมากก็ต้องออกเองด้วย


น้องแท้: แต่ว่าสิ่งที่ดีที่สุด ที่ไม่ต้องออกเอง คือการดึงเพื่อนร่วมทีมมาจากคณะอื่นที่เขามีทักษะที่สามารถจะเข้าถึงความต้องการของเราได้ ซึ่งตรงนั้นก็จะช่วยลดคอร์สลงไป


ครูกอล์ฟ: ก็น่าสนใจเพราะว่าเขาก็มาเหมือนกับมาอยู่ในคนที่มีความรู้หรือคนที่จะเป็นผู้นําในด้านสตาร์ทอัพอยู่แล้วเนอะ พอเขามีไอเดียเขาอาจจะไม่รู้จะเริ่มยังไง เป็นอะไรที่เจ๋งมากเลยครับแท้ ก็ขอบคุณแท้มากนะครับที่อุตส่าห์มาแชร์วันนี้ฝากคณะชื่อคณะอีกทีครับ


น้องแท้: ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น Csii ครับ


ครูกอล์ฟ: ก็ยังได้รับความนิยมอยู่นะครับ แล้วก็จะมีน้องๆเข้าอยู่ คณะปีนึงรับกี่คนครับ


น้องแท้: ประมาณ 100 คนครับ


ครูกอล์ฟ: ก็ต้องแย่งที่นั่งกันนิดนึงนะครับ ก็เอา sat ให้ได้เยอะๆไว้ก่อนครับ คะแนน sat คือสําคัญสุด เพราะ ielts เป็นแค่ส่วนประกอบ ขอให้มันเกิน 6 ไว้หน่อย ก็โอเค แต่คะแนน sat เยอะก็คือถึงจะได้เข้าไปสัมภาษณ์ต่อไป ขอบคุณแท้มากครับผม


น้องแท้: ขอบคุณมากครับ


ครูกอล์ฟ: หวังว่าจะได้ดูแท้ในรายการ shark tank วันนึง


น้องแท้: หวังว่าจะไม่ต้องไป shark tank เลยฮะ ลงขายแล้วมี value investor ลง


ครูกอล์ฟ: เงียบ ๆ รวยเงียบ ๆ แล้วก็เป็นอันดับ 1 ด้านแปรงสีฟันเลย ครูจะเฝ้ารอวันนั้นครับ ขอบคุณแท้มากครับ


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่กำลังมองหาคอร์สเรียนเตรียมตัวสอบในหลักสูตรต่าง ๆ #TheClassTutor ของเราเปิดสอนพิเศษ 1-on-1 ทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online กับติวเตอร์มากความสามารถที่จะแชร์เทคนิค ตะลุยโจทย์ และเจาะลึกเนื้อหา เพื่อช่วยให้น้องๆได้พัฒนาตนเอง และได้คะแนนตามที่ต้องการ

หลักสูตรที่เปิดสอน อาทิเช่น A-level | IGCSE | IELTS | TOEIC | TOEFL | IB | GED | SAT และอีกมากมาย

สามารถปรึกษาและวางแผนการเรียนได้แล้ววันนี้ #edexcel #pastpaper #internationalschool #IGCSE #cambridge #igcsepastpapers #savemyexams #alevel

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดู 8 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page