ถ้าจะกล่าวถึงโรคซึมเศร้าว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือคงเป็นแค่คนเฉพาะกลุ่มที่เป็นผู้ใหญ่ แล้วกับนักเรียนนักศึกษาในยุคปัจจุบัน เค้าเป็นกันซีเรียสขนาดไหน
โรคนี้เกิดขึ้นกับเค้าเหล่านั้นได้ไหม หรือเป็นเรื่องไกลตัวกันแน่เรามาลองวิเคราะห์และคิดตามกันดูนะครับ เราที่เป็นผู้ใหญ่คงจะรู้กันดีว่าช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดคือวัยเรียน วัยที่มีหน้าที่รับผิดชอบเพียงอย่างเดียวก็คือเรียน เทียบไม่ได้กับความเครียดและภาระที่ถาโถมเข้ามาหลังจากก้าวสู้โลกของวัยทำงาน ทั้งการสร้างฐานะ การคิดถึงอนาคต และยิ่งคนที่มีครอบครัวแล้วย่อมมีความเครียดในการเตรียมอนาคตให้กับลูกและคนในครอบครัวขึ้นมาอีก แต่การเรียนสมัยก่อนกับสมัยนี้มันต่างกันอย่างไรเรามาคิดเทียบกันดูเป็นข้อๆนะครับ
1. การแข่งขัน
การเรียนในสมัยนี้มีการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น มีการสอบวัดคะแนนมากขึ้น เรียกได้ว่าแข่งกันตั้งแต่อนุบาล สอบเข้า ป.1 ยังต้องติวกันแทบเป็นแทบตาย
บางโรงเรียน ใช้การวัดคะแนนในการแบ่งห้องเป็นห้องคิง ห้องกิฟเตด มีจัดเลเวลในแต่ละวิชาว่าเป็นกลุ่ม 1 2 3 ซึ่งมีข้อดีในการทำให้นักเรียน แต่ละคนอยู่ในระดับที่ใกล้กัน การเรียนการสอนก็จะไปได้ไวขึ้น แต่ข้อเสียคือ นักเรียนที่อยู่ในระดับต่ำๆลงมาก็เหมือนถูกตีตราว่าไม่ได้เก่ง และอาจทำให้เค้าเข้าใจผิดว่าเค้าไม่เหมาะสมกับวิชาๆนั้นๆ ทั้งในความเป็นจริงแล้วเค้ายังไม่ได้สนใจหรือตั้งใจเรียนในวิชานั้นๆ ด้วยซ้ำ
ทีนี้พอแบ่งห้องเด็กที่อยู่ห้องต้นๆ ก็จะได้ครูดีๆ ไปในขณะที่เด็กที่อยู่ห้องล่างๆ ก็ได้ครูที่เก่งน้อยลงมา สอนช้ากว่า มีการตัดบทเรียนบางส่วนทิ้งแบบนี้เหมือนกับเด็กเสียโอกาสกันไปเลย เพราะตอนเรียนจบสอบเข้า มหาวิทยาลัย ก็ต้องสอบแข่งด้วยกันหมดอยู่ดี ถูกตัดเนื้อหาทิ้งแบบนี้ไม่ดีต่อการสอบเข้าและการเรียนต่ออย่างแน่นอน
2. โลกของโรงเรียน ไม่ได้มีแต่เรื่องการเรียนอย่างเดียว
การไปโรงเรียน เปรียบเสมือนการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันโลกโซเชียลมีผลกับน้องนักเรียนกันแล้ว เคยตั้งคำถามมั๊ยครับว่านักเรียนสมัยนี้เล่น facebook IG snapchat กันตั้งแต่อายุเท่าไหร่ อ้าว!! แล้วมันมีผลยังไง
ผู้ใหญ่เรารู้การเคลื่อนไหวของเพื่อนๆพี่ๆน้องๆได้เพียงปลายนิ้ว เหมือนเป็นการเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ต่างจังหวัด หรือ ไกลถึงต่างประเทศก็สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเหมือนว่าอยู่ใกล้กัน
เด็กนักเรียน ก็เช่นกัน เค้าจะอยู่ใกล้ชิดกับสังคมมากกว่าที่รุ่นเราๆ เคยพบเจอ ได้รับรู้ว่าเพื่อนทำอะไร มีการอวดผ่านทาง facebook IG กันอยู่ทุกวัน ไม่ได้แค่อวดเรื่องผลการเรียนแล้วซิที่นี้ ได้อวดกันทั้งชีวิตเลย ไปเที่ยวบ้าง อาหารดีๆบ้าง เล่นเกมชนะบ้าง
ซึ่งพื้นที่ในเฟสก็มีแต่พื้นที่ที่โพสอวดกัน เด็กๆ ที่ได้รับข้อมูลเพียงปลายนิ้วแบบนี้ย่อมรวดเร็ว ยิ่งต้องได้รับคำแนะนำและชี้แนะอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน ซึ่งก็คือคำแนะนำจากคนในครอบครัวหรือครูต่อเด็กนักเรียน ถ้าไม่ทันกับโลกปัจจุบัน มันย่อมง่ายและรวดเร็วมาก หากนักเรียนจะแปลความหมายไปในทางที่ไม่ดี คิดลบ และนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้าอย่าง เช่น ทำไมเราแย่จังไม่มีของคูลๆ แบบเพื่อนเค้า หรือทำไมเราเรียนแย่แบบนี้สมองเราไม่ดี ไม่น่าเกิดมาเลย ถ้าเกิดใหม่สมองน่าจะดีกว่านี้ หรือเห็นข่าวคนทำร่ายร่างกายตัวเองก็เลยคิดว่าเป็นเรื่องปกติทำตามบ้าง ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของครอบครัวด้วย ลองนึกดูว่ากว่าเราจะได้พูดคุยกับเค้าซักครั้ง เค้าได้เปิดเฟสเปิดไอจีดูเรื่องไม่ดีไปกี่เรื่องแล้ว แล้วได้เก็บมาปรึกษาหรือมาถามเรากี่เรื่อง และกี่เรื่องที่เค้าตัดสินเองได้ว่าไม่ดีต้องตัดทิ้งไป
3. ภาวะซึมเศร้ามักเกิดกับน้องๆ ที่ชอบเก็บตัว
เราค้นพบว่า คนที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือหดหู่ มากกว่า 90% นั้น มีโลกส่วนตัวและอยู่กับตัวเองคนเดียว การเก็บตัวไม่ใช่ว่าจะแย่เสมอไป คนเราเก็บตัวบ้างเพื่ออยากทำสิ่งที่เราต้องการ หรือต้องการสมาธิ ความสงบ แต่ไม่ใช่เก็บตัวตลอดเวลา
คนที่คิดลบส่วนใหญ่หากเก็บตัวไม่พูดคุยกับใครด้วยยิ่งไปกันใหญ่ เรื่องเศร้าๆในชีวิตที่คิดลบไม่เบิกบานใจ ทั้งผลการเรียนที่ไม่เป็นดังหวัง คิดไปไกลว่าไร้ค่า ทั้งชีวิตที่ไม่สวยหรูดีงามเท่าเพื่อนๆ คิดไปเป็นความรันทด มันสามารถทวีความรุนแรงได้มากกว่าที่เราจะคาดคิด
เค้าจะไม่เข้าใจว่า การเรียนบางทีก็ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต การค้นหาว่าเราชอบอะไรอยากเรียนไปทางไหนส่วนตัวผมว่าสำคัญกว่าคะแนนที่ชี้วัดเป็นไหนๆ ไม่มีใครเก่งกว่าใครและโง่กว่าใครในระยะเวลานานๆ เพราะความรู้และความเชี่ยวชาญ
สามารถฝึกฝนผ่านการเรียนและประสบการณ์และสามารถแซงกันได้ ซึ่งขึ้นกับระยะเวลาที่เหมาะสมแล้วแต่ละบุคคล การออกมาเจอโลกภายนอกทำกิจกรรมที่ต่างไปนอกโรงเรียนมีสังคมภายนอกโรงเรียนบ้าง ย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เค้าห่างไกลจากการเป็นโรคซึมเศร้า
4. ภาวะเครียดจากการถูกเปรียบเทียบ
นักเรียนในยุคสมัยนี้ เราโพสกันแต่เรื่องดีๆผ่านโซเชียลกันทั้งนั้น หากโดนถูกเอามาเปรียบเทียบซะทุกครั้งก็จะเป็นภาวะเครียดอย่างหนักหนาสาหัสกับ นักเรียนในปัจจุบัน การเปรียบเทียบย่อมทำให้เกิดประโยชน์ในแง่การแข่งขัน การพัฒนาตนเอง
แต่ใครอยากจะอยู่บนลู่วิ่งตลอดเวลาบ้าง แม้แต่ผู้ใหญ่อย่างเรายังต้องพักบ้างแข่งบ้าง หากนักเรียนถูกเปรียบเทียบเรื่องการเรียนอยู่เสมอและถูกกระทำในภาวะที่เค้าไม่พร้อมแข่ง สภาพเค้าจะเป็นยังไงกัน ใครเป็นคนผลักดันเค้าสู่โรคซึมเศร้าเราต้องคิดกลับกัน
หรือเช็คดูสภาวะจิตใจเค้าด้วยก่อนจะเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบกับคนที่ดีกว่าจะดีเมื่อเรามีกำลังใจและอยากพัฒนา แต่บางทีก็ควรเปรียบเทียบกับคนที่ด้อยกว่าบ้างเพื่อเป็นรางวัลและการปลอบใจ ในภาวะอารมณ์ของเค้าในขณะนั้น เมื่อเค้ามีใจสู้แล้วก็ค่อยๆ ตั้งเป้าหมายร่วมกันแบบนี้เยี่ยมไปเลยใช่มั้ยครับ
5. คุณค่าในตนเอง
เด็กๆถูกป้อนเข้าสู่โลกแห่งการเรียนการชิงดีชิงเด่น การสอบเข้าแข่งขัน และเป็นหน้าเป็นตาให้กับผู้ปกครอง จนบางทีเราลืมไปด้วยซ้ำว่าลูกไม่ใช่เครื่องมือในการอวด
การช่วยกันสร้างตัวตน หาสิ่งที่ตนเองชอบ การมีวินัย มีมารยาท มีสำนึกสาธารณะ ในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น การช่วยกันดูแลรักษาโลกของเรา สิ่งเหล่านี้เราสามารถเสริมเข้าไปให้เค้าเป็นผู้ใหญ่ที่มีครบรอบด้านมากกว่าความรู้และคะแนนที่ได้ A ทุกวิชาซะอีก เค้าอาจไม่ใช่คนเรียนดี แต่เค้าเป็นคนดีได้ เค้าเป็นคนน่ารักมีน้ำใจ ไปไหนใครๆก็รักก็เอ็นดู แบบนี้เค้าจะห่างไกลจากโรคซึมเศร้าอย่างแน่นอน หากคุณค่าในตนเองของเค้าแข่งแกร่งเรื่องเรียนจะไม่ใช่ปัญหา เพียงแต่เค้าให้ความสนใจในช่วงเวลาที่เหมะสม หรือเค้าอาจไม่ใช่คนที่เกิดมาเพื่อทำคะแนนให้ได้ดี แต่อย่าลืมว่าถึงแย่ขนาดเรียนไม่จบ ก็ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ มีอะไรที่สนุกสนานและท้าทายกับเขาอีกมากในอนาคต การเรียนเป็นเพียงสิ่งหนึ่งเท่านั้นที่ทำให้เค้าหัดเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน
รู้จักอดทน รู้จักฝึกฝนให้เผชิญกับสิ่งที่ไม่ชอบ หล่อหลอมให้เป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงและช่วยเหลือตนเองผู้อื่นในอนาคตต่อไป การพัฒนาตนเองจะไม่เกิดขึ้นเลยหากไม่ผ่านความพยายาม
สุดท้ายนี้อยากฝากไปถึงผู้ปกครองทุกๆ คนว่า การเรียนและคะแนน ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดทุกอย่าง พยายามหาข้อดีและตัวตนของ นักเรียนให้เจอและสนับสนุนเค้า ผลักดันเค้าในช่วงเวลาที่เหมาะสม มีนักเรียนที่เรียนไม่เก่งหลายคนที่ก้าวเข้ามาเรียนในสถาบันของเราและกลับออกไปด้วยรอบยิ้ม เพราะถ้าเค้ายังยิ้มหลังจากเรียนเสร็จแล้ว แสดงว่าเค้ามีความสุขที่ได้เรียนรู้และเค้าจะอยากกลับมาเรียนอีก แบบนี้เค้าจะเป็นคนที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งอย่างแน่นอน แม้จะมีอะไรๆ ในชีวิตมาขวางเค้าบ้าง เค้าก็จะได้รับคำแนะนำเชิงบวกจากที่ โรงเรียนกลับไป
ด้วยพันธะสัญญาแห่งความเป็นครู theclasstutor จะขอพยายามทำให้ดีที่สุด และขอเป็นกำลังใจให้ผู้ปกครองและนักเรียนทุกคน ห่างไกลจากความเครียดและโรคซึมเศร้า มีอนาคตที่สดใสมีความสุข สุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ
Comentarios