top of page
  • รูปภาพนักเขียนPararawee

สมองและการคิดในใจ


ก่อนอื่นจะบอกว่าอย่าไว้ใจสมอง

หลายๆครั้งที่เราเรียนหนังสือในตอนที่เป็นเด็กแล้วครูบอกให้จดๆท่องๆจำๆ เราก็รู้สึกเบื่อทันที แม้กระทั่งตัวผมเองยังคิดว่าไร้สาระ เพราะมั่นใจว่าตัวเองเก่งหรือใกล้ๆสอบค่อยมาท่องเอาก็ได้ ถึงจำได้ตอนนี้ก็ลืมเสียแรงปล่าวๆ พอโตมาได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับสมองรวมถึงการที่ได้มาเป็นอาจารย์ จึงทราบว่า กลไกในการที่จะทำให้นักเรียนจำอะไรได้แม่นๆนั้นเกิดจากการจด ลองนึกภาพตามถ้าคุณต้องจำอะไรสักอย่างโดยใช้วิธีท่องแล้วปิด จำ แล้วก็เปิดดู นั่นคือการจำโดยใช้สมองล้วนๆหรือใช้ลักษณะของ image memories ในขณะที่อีกคนใช้วิธีการเอากระดาษมาลอกไปแบบไม่คิดสักสิบรอบ การทำแบบนี้จะมีส่วนที่เราเรียกว่าmuscle memories เพิ่มเข้ามาด้วย แน่นอนถ้าเทียบเอาค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ที่เป็นคนปกติ ไม่ได้มี image memories แบบ doctor strange แบบที่สมองจะจำได้เร็วกว่าและอยู่กับเราได้นานกว่า เปรียบเสมือนการที่เราปั่นจักรยาน ถ้าปั่นเป็นแล้ว ไม่ได้ปั่นมานานเป็นปีกลับมาก็ยังปั่นได้อยู่

ผมชอบเปรียบเทียบให้นักเรียนฟังว่า การมาเรียนแล้วสนุกได้ความรู้แต่ไม่จดอะไรเลย เหมือนกับน้องไปดูหนังเรื่องนึงแล้วสนุกกับมัน พอออกจากโรงหนังเราจะเล่ารายละเอียดได้ หนังสองชั่วโมง อาจเล่าได้ ชั่วโมงนึง ครึ่งชั่วโมง หรือเล่ารายละเอียดเป็นสามชั่วโมง แต่ผ่านไปสองอาทิตย์ ถามใหม่ เชื่อว่าอาจเหลือแค่ 5 นาทีและสำคัญว่าจะเหลือแต่ฉากที่ประทับใจ สิ่งที่เราประทับใจจะทำให้เราจำไปในสมองส่วนลึกโดยอัตโนมัติ ทำให้เราจำได้

ยากหละสิการเรียนเป็นเรื่องที่น่าเบื่อแล้วจะให้จำไปแบบประทับใจจะทำยังไง ทำได้ครับ กับครูที่เล่าเนื้อหาเป็นนิทานบ้างแต่งเรื่องให้นักเรียน ชอบบ้าง แต่ก็ทำได้จำกัดในเนื้อหาและวิธีการ และส่วนมากใช้ได้กับเด็กเล็กๆเท่านั้น โตขึ้นเนื้อหายากขึ้น การแต่งเรื่องบางทีจะทำให้การเรียนใช้เวลานานขึ้นไปอีก จึงทำได้ยากกับการเรียนที่สูงๆขึ้นไป


ขอพูดเรื่องสมองเพิ่มอีกนิด ถ้าเราลองสังเกตุดีๆสมองเราฉลาดมากคิดอะไร ทำอะไรรวดเร็ว ซึ่งทำให้เราที่เป็นมนุษยพัฒนาได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆบนโลกใบนี้เกิด รถยนต์ เกิดคอมพิวเตอร์ มือถือ เทคโนโลยี ต่างๆมากมาย แต่แล้วทำไมผมถึงบอกว่าอย่าไว้ใจสมอง ถ้าจะพูดง่ายๆเราสังเกตุเราจะมีสมองสองส่วน คือส่วนที่เราบังคับได้ และส่วนที่เราบังคับไม่ได้ ส่วนที่บังคับได้คือสมองส่วนที่เราใช้คิดอะไรต่างๆมากมาย คำนวณเลข คิดในใจ คิดวิเคราะห์เหตูการณต่างๆที่เข้ามา รวมถึงควบคุมอารมณและความรู้สึกต่างๆจากความคิด ซึ่งส่วนนี้เอาเป็นว่าเราบังคับให้สมองคิดตามที่เราต้องการแต่ในขณะที่เรากำลังคิดอะไรอยู่นั้น เรามักจะพบว่าบางที่สมองก็สั่งการอัตโนมัติ คิดอะไรแทรกมาเฉยๆ ส่วนมากมาจากเรื่องที่เรากังวลใจบ้าง เมื่อเข้าโดนพ่อแม่ดุมา เห็นคนทะเลาะกันหรือเห็นอุบัติเหตุแล้วภาพติดตา คิดอย่างอื่นอยู่ก็มีภาพนี้แทรกเข้ามา ขอเรียกสมองส่วนนี้ว่าสมองที่เราควบคุมไม่ได้ ดังนั้นหากสมองเป็นแบบนี้ เราจะทำยังไง หากมีอะไรแทรกเข้ามาในระหว่างที่เรากำลังเรียน


ดังนั้นวิธีการหลักๆ คือ อย่าไปพึ่งสมองไปซะหมดทุกอย่าง อย่าคิดว่าเราเก่งแล้วไม่จดก็ได้ การจดเป็นการแบ่งเบาภาระที่เราใช้สมอง ช่วยในการจำ และถ้าเราลืม เรามาดูสิ่งที่เราจดด้วยลายมือเรา ภาพในตอนเรียนก็จะกลับมาช่วยให้เรานึกถึงสิ่งที่ลืมไปได้ ดังนั้น อย่าขี้เกียจที่จะจดแต่การจดที่มีประสิทธิภาพที่สุด ไม่ใช่การลอก แต่ควรเป็นการทำความเข้าใจแล้วจดในภาษาหรือรูปแบบประโยคที่เราคิดขึ้นมา บางคนอาจวาดรูปประกอบไปด้วยยิ่งดีนักเรียนบางคนวาดเป็นการ์ตูน เพิ่มเรื่องราวเข้าไปอีก ยิ่งดีใหญ่ การจดแบบอ่านหนังสือแล้วเอามาย่อความก็เช่นกัน ทำให้เราจับสาระสำคัญในเนื้อหาการเรียนได้ ย่อแล้วมันก็จะทำให้เนื้อหาน้อยลง จำได้ง่ายขึ้น ย่อแล้วย่ออีกจากหนังสือหนาๆเหลือชีทสี่ห้าหน้าจนย่อซ้ำๆไปจนเหลือหน้าเดียว นี่คือเทคนิคที่ผมทำในทุกๆวิชาแล้วก็ทำให้ผลคะแนนออกมาได้ดี ในวิชาที่ต้องจำ แต่กับวิชาคำนวณ ต้องฝึกโจทยเพิ่มด้วย


การคิดเลขเร็วหรือคิดในใจ เด็กบางคนชอบอ่านโจทย์แล้วนิ่งไปสักพัก คงเพราะพยายามคิดในใจอยู่บางคนก็คิดว่าเท่ห์มากหากคิดในใจแล้วตอบถูก แต่ผมกลับพบว่าเป็นจุดเล็กๆที่ นักเรียนมองข้ามเพราะการคิดในใจที่ถูกต้องเกิดจากเราเห็นคำตอบในขณะที่เรากำลังเขียนวิธีทำ

ถ้าเมื่อไรก็ตามที่เราหยุดเขียนแล้วไปคิดในใจ บางทีเราอาจใช้เวลานานกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ ที่สำคัญคือ เราไว้ใจสมองเกินไปบ่อยครั้งคำตอบกลับผิดทั้งที่เป็นเลขง่ายๆ เพราะฉะนั้นลองเปลี่ยนเป็น ทดเยอะๆ กับการสอบที่ ผิดแล้วติดลบ เช่น SAT ในระบบเก่า เราจะพบว่าถ้าเราทดเยอะๆ อยู่ดีๆคะแนนก็เพิ่มขึ้น ทำได้เร็วขึ้น ทั้งๆที่ไม่ได้เรียนอะไรเพิ่มเติมแค่เปลี่ยนวิธีการเฉยๆ บางคนจาก 450/800 กลายเป็น 600/800 เฉยเลยแค่เปลี่ยนวิธีการ ก็ลด silly mistake ได้เพียบ


หากน้องๆหรือผู้ปกครองเห็นว่ามีประโยชน์ สามารถนำไปปรับใช้ กับลูกของท่านแล้วจะพบว่าเค้าสามารถมีผลการเรียนที่ดีขึ้น แม้จะเป็นเด็กสมาธิสั้นก็ตาม


ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios

Obtuvo 0 de 5 estrellas.
Aún no hay calificaciones

Agrega una calificación
bottom of page