วันนี้ทาง #theclasstutor จะพามาเปิดบทสัมภาษณ์ "น้องแพร" กับประสบการณ์บินไกลไปเรียนถึง Australia ชีวิตการเป็นอยู่จะเป็นยังไงและปรับตัวยากไหม มาเปิดประสบการณ์สุดมันส์กับบทสัมภาษณ์ Clip : ฟังก่อนไป #Australia เรียนยากไหม ต้องปรับตัวยังไง ? | Exclusive Interview | Theclasstutor.
ครูกอล์ฟ: สวัสดีครับ
น้องแพร: สวัสดีค่ะ
ครูกอล์ฟ: แนะนำตัวนิดนึงครับ
น้องแพร: ชื่อแพรค่ะ เรียนที่ออสเตรเลียค่ะ มหาลัย Queensland University of Technology (QUT) อยู่ที่ #Brisbane
ครูกอล์ฟ: เกี่ยวกับคณะอะไรครับที่เรียน
น้องแพร: มหาลัยมันจะเรียกว่าคณะ #business แต่ว่าเราเลือก major ตามได้เลย ของแพรเรียน 2 major เรียน #accounting กับ #finance
ครูกอล์ฟ: ใช้เวลาเรียนทั้งหมดกี่ปีนะครับ
น้องแพร: 3 ปีค่ะ
ครูกอล์ฟ: วันนี้ก็ได้กลับมาเจอแพรอีกครั้ง
น้องแพร: เรารู้จักกันมาเจ็ดปีแล้วอะพี่กอล์ฟ
ครูกอล์ฟ: ยิ่งพูดยิ่งแก่
น้องแพร: ตั้งแต่ม.สาม
ครูกอล์ฟ: แต่แพรไม่เปลี่ยนไปเลยนะ
น้องแพร: พี่ก็ไม่เปลี่ยน
ครูกอล์ฟ: โอเควันนี้อยากมาฟังเรื่องราวคร่าวๆ ชีวิตการเรียนแพรเป็นยังไง เรียนที่ไหนยังไง แล้วก็ไป end up อยู่ที่ #Queensland ได้ยังไง
น้องแพร: ม.ต้นจริงๆ แล้วอยู่โรงเรียนไทย อยู่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย จนถึงม.1 แล้วก็ย้ายมา St. Stephen's โรงเรียนใกล้ตรงนี่
ครูกอล์ฟ: เราเลยได้รู้จักกัน
น้องแพร: ใช่ เราเลยได้รู้จักกับพี่กอล์ฟ อยู่ St. Stephen's ประมาณ 4 ปี Year 9-11 จริงๆ เข้า Year 8 ครึ่ง
ครูกอล์ฟ: ถามก่อนเลยระหว่างที่ข้ามโรงเรียนไทยเป็นอินเตอร์เนี่ยมีการปรับตัวยังไงบ้างไหมรู้สึกว่าอะไรที่มันแตกต่างกันบ้าง
น้องแพร: ภาษาเลย เพราะว่าอินเตอร์ทุกอย่างเรียนเป็นภาษาอังกฤษ แต่ว่าก็ยังดีที่สังคมที่ยังมีความเป็นไทยอยู่ก็เลยปรับตัวไม่ยากมากในมุมมองของแบบสังคมเข้าเพื่อน เพราะว่ามีเด็กไทยหลายคนที่ย้ายมาที่นี่ มันไม่ใช่ฝรั่งจ๋า
ครูกอล์ฟ: เรียนอีก 4 ปี โดยที่ไม่ได้มีปัญหามากในการปรับตัว เพียงแต่ว่าเนื้อหาทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษหมดแล้ว
น้องแพร: ใช่ๆ
ครูกอล์ฟ: จากนั้น 4 ปีก็เรียนถึง Year อะไรครับ
น้องแพร: ประมาณ Year 11
ครูกอล์ฟ: เรียกได้ว่าก็จบประมาณ #IGCSE พอดี แต่ว่าเราไม่ต่อใน A-Level
น้องแพร: ไม่ต่อค่ะ
ครูกอล์ฟ: ตอนนั้นน่ะที่จบ #IGCSE แล้วเกรดมีแค่ IGCSE อะ ไปต่อเรียนต่อออสเตรเลียทำยังไงอะเพราะว่าเกรดมันมันเทียบไปเป็นระดับไหนของที่ออสเตรเลีย
ครูกอล์ฟ: 2 อย่างแค่นั้นเลย
น้องแพร: ใช่ค่ะ แล้วก็ apply ไปที่นู่น
ครูกอล์ฟ: มีสอบสัมภาษณ์ไหมครับ
น้องแพร: มี แต่เขาก็โทรสัมภาษณ์แบบ ไม่ได้ซีเรียสอะไรขนาดนั้น วิดีโอคอลนิดๆ ประมาณ 10 นาทีอะไรแค่นี้เอง
ครูกอล์ฟ: แล้วก็ไปเรียน high school ที่นู่นเลย
น้องแพร: ไป ม.5 ม.6
ครูกอล์ฟ: เขานับยังไงที่ออสเตรเลีย เขาไม่ได้นับเป็น Year เหรอ
น้องแพร: เขานับ Year ค่ะ แต่ว่าจะเป็น Year แบบอเมริกาที่แบบ Year 12 ก็มือ ม.6 เพราะของอังกฤษมัน Year 13
ครูกอล์ฟ: ก็คือเรียนที่นู่นเป็น high school อีก 2 ปี
น้องแพร: 2 ปีครึ่ง เพราะมันมี transition ของการเปิดเทอมที่นี่กับที่นู่นที่เวลาไม่ตรงกัน
ครูกอล์ฟ: พอย้ายจากที่นี่แล้วไปอยู่ที่นู่น มีปรับตัวอะไรมั้ย
น้องแพร: ปรับตัวการเรียนไม่ค่อยเท่าไหร่นะพี่ แต่น่าจะเป็นสังคมมากกว่า คือที่นี่เราก็ใช้ภาษาอังกฤษเรียนแหละแต่ว่าที่นู่นคือเพื่อนทุกคนพูดภาษาอังกฤษหมดเลย สังคม culture หรือแบบ Sens of humor มันต่างกันอะ มันก็จะปรับตัวเรื่องเพื่อนนิดนึง มุกตลกมันไม่เหมือนเดิมละ คือแบบเขาคุยมุกตลกกันแล้วก็ไม่เก็ทหรือหนังที่เขาดูซีรีส์หรือเพลงที่เขาฟังมันก็จะต่างกันหมดเลย
ครูกอล์ฟ: เขาทันสมัยกว่าเราไหม เพลงที่ฟังหรือว่ามันเป็นแนวไหน
น้องแพร: มันแค่คนละแนว
ครูกอล์ฟ: ก็อยู่ที่นู่นอีก 2 ปี
น้องแพร: ใช่ 2 ปี แล้วก็เรียนจบกลับไทย มาโควิดพอดีก็เลยอยู่ที่นี่ แต่ว่าเรา apply มหาลัยที่ออสเตรเลียไว้
ครูกอล์ฟ: การเรียนต่อที่ออสเตรเลีย สามารถใช้เกรดเข้ามหาลัยได้เลยไหมหรือมันต้องการอะไรเพิ่มเติมไหม
น้องแพร: ใช้เกรดได้เลยนะพี่ไม่มี entrance ไม่มีสอบตรง เหมือนที่นั่นมันจะมีแบบเว็บๆ นึงที่แบบเราเข้าไปใส่เลยว่าเรา จัด 3 อันดับแรงค์มหาลัยและคณะ แล้วมันก็จะแบบ generate มาให้ว่า ถ้าไม่ติดที่ 1 ก็ติดอันที่ 2
ครูกอล์ฟ: เดี๋ยวนะที่อังกฤษเขาให้เลือก 4 นะแต่ว่าที่ที่นู้นเลือก 3 แล้วเราติดตำแหน่งที่เราเลือกไว้ 3 อันเลยไหม
น้องแพร: มันเลือกแค่อันเดียวพี่ มันไม่ให้โอกาส สมมติแบบว่าถ้าอันที่ 1 ติดแล้ว ถ้าเราอยากได้อันที่ 2 เราต้องไปกด reject มันถึงจะไล่ให้ หรือว่าถ้าที่ 1 ไม่ได้มันจะให้อันที่ 2 เลย
ครูกอล์ฟ: แล้วที่เราเลือก เราเลือกอันดับที่เท่าไหร่ที่เราติด
น้องแพร: ติดอันดับ 2 นะ แต่จริงๆ คิดมหาลัยนี้ไว้แล้วแหละ อันดับ 1 ที่เลือก เลือก The University Of Queensland (QUT) คะแนนมันสูงมาก รู้อยู่แล้วไม่ติดก็เลือกไปงั้นๆ ติดเรียบร้อยแสดงว่าเราไปอยู่ที่นู่นปรับตัวก็เป็นหนทางที่ดีเพราะเราไม่ต้องแข่งขันสูง หรือว่าจริงๆ แล้วเราจบจากที่นี่แล้วไปยื่นที่นั่นก็ได้เหมือนกัน
ครูกอล์ฟ: การเป็นอยู่เป็นไงตอนที่เราไปอยู่ที่นู่นครั้งแรก เรื่องการเรียนเทียบแล้วเราแข่งขันกับเขาได้ไหม หรือว่ามันเป็นไงบ้าง
น้องแพร: การเรียนเราเทียบได้อยู่นะ แบบเด็กไทยมันสอนให้เนื้อหาเรียนเข้มข้น ที่นู่นมันจะเน้น practical
ครูกอล์ฟ: แสดงว่าเราก็ค่อนข้างจะแน่นเลย พื้นฐานแน่นเลยตอนที่อยู่ที่ออสเตรเลีย
น้องแพร: ใช่ค่ะ ยิ่งเลขยิ่งที่นั่นยิ่งง่าย
ครูกอล์ฟ: คือเลขเราแข็งเลย
น้องแพร: ถ้าเทียบกับที่นั่นคือเราคือเราเก่งเลขเลยอะ แต่มันก็จะมีคนที่โดดเด่นที่แบบ...เรื่องของมัน
ครูกอล์ฟ: เคยสอนนักเรียนที่มาจากนิวซีแลนด์ ออสเตรเลียนะ ส่วนมากเด็กที่นู่นติดเครื่องคิดเลขกันหมดเลยอะ
น้องแพร: ใช่ๆ
ครูกอล์ฟ: เป็นไหม ทำไมเขาถึงติดขนาดนั้น
น้องแพร: ก็เขาให้ใช้
ครูกอล์ฟ: ตั้งแต่เด็กๆ หรือเปล่า
น้องแพร: ใช่ อยู่ที่โน่นก็ใช้เครื่องคิดเลขตลอดนะสอบก็ใช้เครื่องคิดเลขได้
ครูกอล์ฟ: มุมนี้จริงๆ แล้วเข้าใจนะคือเหมือนว่า เครื่องคิดเลขเป็น tools ถูกไหม ถ้าเกิดอนาคตเราเรียนเลขไป แต่เราก็จะใช้เครื่องคิดเลขได้อยู่ดีอะ เพราะฉะนั้นในเมื่อ tools มันต้องใช้ก็ให้ใช้ตั้งแต่ตอนนี้เลย แต่ในอีกมุมนึงก็รู้สึกเหมือนกันว่าถ้าใช้ tools มากๆ แล้วติดกับเครื่องคิดเลขมากๆ อะ บางที logic ในการคิดอะไรบางอย่าง มันไปพึ่ง tools ซะหมด จนเราไม่รู้ว่า tools ที่กดเรามาปุ๊บ แล้วเลขออกมาสมมุติเราเอาบวกคูณบวกแล้วได้ลบ มันอาจจะมีจังหวะที่เรากดเครื่องคิดเลขผิด แต่เราเห็นแล้วว่ามันไม่มีทางเป็นไปได้ในเครื่องคิดเลขอะเพราะมันเป็นลบ แต่ด้วยเราที่เคยทำเลขอะเรารู้ไง เราเลยรู้ตัวไง แต่ถ้าเรายึดติด tools มากๆ บางทีเรายึด tools โดยเราลืม logic บางอย่างไป
น้องแพร: ก็อาจจะมีส่วน แต่คนที่นั่น โรงเรียนที่แพรเรียนรู้สึกว่าเขาแบ่งเลขเป็น 3 ห้องเลยนะพี่ แบบว่ามันจะมีเลขที่แบบ advanced #maths อันธรรมดา แล้วก็อันที่แบบคนที่ไม่เอา #maths เลย เขาจะสอนเป็นเหมือนใช้ชีวิตประจำวันแบบบันทึกรายรับรายจ่าย อารมณ์อย่างงี้เลย หรือแบบซื้อของอะไรที่มันทั่วไป เห็นเขาเรียนหลักๆ ก็จะแบบวิธีใช้เงิน compound interest, simple interest ที่แบบฝากเงินที่ราคาหรือการลงทุนอะไรอย่างนี้ ที่มันใช้ในชีวิตจริงไม่มีเรียนแบบ differential sin cos tan ไม่มีไม่ต้องเรียน
เพราะมันก็ไม่ได้ใช้ ใครจะไป diff ใครจะแบบหาพื้นที่ area พวกนั้นมันไม่ได้ใช้อยู่แล้วเพราะที่นู่นหลายๆ คนที่จบมัธยมเขาไม่ได้ต่อมหาลัย เขาแบบไปสายอาชีพกันเยอะ ก็เอาแค่ติดตัวไปเพื่อใช้ก็พอ อารมณ์แบบทำบัญชีราย-รับรายจ่ายรู้ว่าโอเคได้มาร้อยห้ามใช้เกินร้อยนะ ก็เป็นการปลุกฝังนิสัยการใช้เงิน พอเราเข้ามหาลัย แต่กลับมาไทยก่อน กลับมาไทยก่อนเพราะตั้งใจ gap year
ครูกอล์ฟ: ตอนนั้นทำไมถึงมีความคิด gap year ขึ้นมา
น้องแพร: อยากเที่ยวอยากทำอย่างอื่น แต่ว่า gap year นานไปก็เลยเอาแค่ครึ่งปีก็ได้ เราตั้งใจจะกลับไป
เรียนต่อ แต่โควิดมาก็เลย gap ได้เกือบปีนึงแต่ว่าระหว่าง gap เราก็ทำอย่างอื่นไปด้วยนะพี่
ครูกอล์ฟ: ทำอะไรไปบ้างครับตอนนั้น
น้องแพร: ฝึกงานเที่ยวอะไรประมาณนั้น ทำหลายอย่างไปอยู่เกาะเต่ามา 3 เดือนด้วย
ครูกอล์ฟ: ได้ข่าวว่ากิจกรรมที่ชอบคือการดำน้ำ ก็เลยไปใช้ชีวิตเป็นนักดำน้ำจริงๆ 3 เดือนเลย
น้องแพร: เราไม่ได้ดำตลอดแต่ว่าไปอยู่แผนกแบบ dive resort มันจะมีศูนย์ที่ลูกค้ามาติดต่ออยากไปดำน้ำ
ออกเรือ เราก็จะจัดทริปขึ้นเรือกับลูกค้าดูแลความเรียบร้อย แต่ว่าก็ว่างก็ทำทุกอย่าง
ครูกอล์ฟ: ก็เรียกได้ว่าทำงานจริงๆ แหละตอนนั้น
น้องแพร: ใช่แต่เป็นงานสาย #hospitality เสร็จแล้วก็แม่ก็บอกว่า gap นานแล้ว เริ่มเรียนได้แล้วมหาลัย ก็เลยเริ่มเรียนตอนสิ้นปี เป็นเข้าแบบ summer semester อะพี่ แต่ว่าจะเรียนออนไลน์ เพราะโควิดเข้ามา
ครูกอล์ฟ: เพราะโควิดเข้ามาพอดี
น้องแพร: ใช่ เพราะโควิดยังกลับยังกลับออสเตรเลียไม่ได้ ก็เลยทำให้ต้องเรียนออนไลน์ทั้งหมด แต่ชีวิตเรียนออนไลน์ก็ก็ชิลดีนะ
ครูกอล์ฟ: สอบเยอะไหมถ้าเรียนอะไรตอนนั้นการปรับตัว
น้องแพร: สอบเหมือนเดิมนะพี่เรียนมหาลัยที่ออสเตรเลียเทอมนึงเรียน 4 ตัวเอง ก็สอบ 4 ตัวทุกเทอมเลยเพราะอาจจะเป็นคณะที่เราเลือกด้วย
ครูกอล์ฟ: ปีแรกๆ มันเป็นวิชาอะไรบ้างที่เราเรียน
น้องแพร: พื้นฐานบัญชี พื้นฐาน #business มีแบบ #dataanalytics
ครูกอล์ฟ: ถ้าจะเรียนเกี่ยวกับคณะนี้ต้องแข็งวิชาอะไรถึงจะเรียนได้ดี เพราะเกี่ยวกับตัวเลข
น้องแพร: มันเกี่ยวกับตัวเลข แต่ว่ามันก็ไม่ใช่ตัวเลขจ๋าที่แบบหา area พื้นที่อะไรเงี้ย แต่อาจจะต้องมีแบบ stat นิดนึงวิชา data แต่ก็ general maths ถ้า logic คุณได้ก็โอเค เพราะว่าบัญชีส่วนใหญ่มันบวกลบคุณหาร
ครูกอล์ฟ: ไม่มี #science แน่นอน
น้องแพร: ไม่มีแน่นอน ไม่มีเรียนเลย
ครูกอล์ฟ: มีอะไรที่มันโดดมานอกจากเลขไหมที่มันแปลกไม่น่ามารวม psychology มา add อะไรอย่างงี้มีไหม
น้องแพร: ไม่มี แต่มันอาจจะซึมๆ แบบภายในเนื้อหา แต่ว่าไม่ใช่ไม่มีวิชาแยก psychology เลย แต่ว่าต้องเรียนพวกแบบกฎหมายนิดนึง
ครูกอล์ฟ: มีกฎหมายด้วย
น้องแพร: ใช่เพราะว่าธุรกิจก็ลิงก์กับกฎหมายนิดนึง
ครูกอล์ฟ: business ที่เรียนมา ตอน igcse ได้เรียนพิเศษมั้ย เรียน #economics ได้ใช้ด้วย
น้องแพร: มันก็มีวิชา #economics ที่เราต้องเรียน มันก็โอเคทำให้ง่ายขึ้น
ครูกอล์ฟ: ฟังดูเป็นคณะที่ชิลเนาะ ปีแรกเรียน 4 วิชาทุกเทอมเลย ก็เหมาะกับไลฟ์สไตล์เราเลยเนาะเพราะว่าเราก็จะมีเวลาว่างไปดำน้ำด้วยป้ะ
น้องแพร: คือเรียนน้อยแต่ว่าเขาเน้นแบบว่าเราต้องอ่านหนังสือเองอะพี่ พราะว่าที่นู่นอย่างคณะแพรเนี้ย สมมติหนึ่งวิชาจะเรียนประมาณ 3 ชั่วโมง 1 ยูนิต 3 ชั่วโมง 2 ชั่วโมงเป็นเลกเชอร์ หรือ 1 ชั่วโมงเป็นแบบ tutorial workshop เหมือนเขาสั่งงานมาแล้วก็ไปทำมาแล้วก็เหมือนทำการบ้านอะ
ครูกอล์ฟ: อยากถามย้อนกลับไปตอนก่อนหน้าที่จะเลือกคณะนี้ ว่าอะไรดลใจเราหรือเรามีความรู้สึกยังไงถึงเลือกว่าต้องเป็นคณะนี้ หรือความสนใจของด้าน accounting มันโผล่มาตอนไหน
น้องแพร: คือเรารู้ว่าเราทำเลขได้ เรารู้ว่าเรามี logic แล้วก็ตัดวิชาคณะอื่นไป science เราไม่เอาตัดไปเลยหมอ วิศวะ วาดรูปไม่ได้ architect ออกไปเลย ดนตรีไม่เอาตัดไป จิตวิทยามีเคยดูๆ อยู่แต่รู้สึกว่าไม่ต้องเรียนก็ดูทำได้ ก็เหลือแค่ business มันก็โอเคเรารู้แล้วเราจะคณะ business แต่ว่าเราจะ major อะไรก็มาคิดอีกทีนึง
ครูกอล์ฟ: แล้วอะไรที่ทำให้เราเลือก major อันนี้
น้องแพร: รู้สึกว่า #accounting เป็นพื้นฐานของทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะทำอะไรมันต้องใช้อะพี่ดังนั้นรู้ไว้ก็ไม่เสียหาย พี่ทำธุรกิจไหนก็ต้องมีคนทำบัญชี ต้องรู้บัญชี foundation ว่าโอเคนี่รายได้เท่านี้รายจ่ายเท่านี้ ทำยังไงให้มันดุลหรือว่าทำไงให้มันได้กำไร แล้วก็เลย add finance มาด้วย เพราะว่ารู้สึกว่าก็สนใจอยู่
รู้สึกว่าธุรกิจไหนก็ต้องใช้บัญชี #finance ต้องมีคนรู้ ใช้ชีวิตของตัวเองยังต้องใช้เลย อย่างสมมติเรียนบัญชีมา พี่อาจจะช่วยเวลาพี่ยื่นภาษี อันนั้นก็จะมีความรู้นิดนึงแหละ
ครูกอล์ฟ: จริงมั้ยว่าถ้าคนเรียน #account ต้องไม่เป็นหนี้บัตรเครดิต เพราะคุณเรียนบัญชีมา คุณรู้อะไรรับรายจ่ายคุณก็จะไม่เป็นหนี้บัตรเครดิต
น้องแพร: ก็ไม่เป็นนะ อันนี้มันก็วางแผนการเงินไงพี่ แต่มันก็ช่วยทำให้เราคิด #logic มากกว่านะ
น้องแพร: บางที่ก็มีใช่ไหมพี่
ครูกอล์ฟ: อยากให้มีเหมือนกัน
ครูกอล์ฟ: มันก็มีบางที่แหละเขาก็พยายามจะ add แหละ แต่อยากให้มันเต็มรูปแบบอะ อยากให้มันรู้ไป
เลยจริงๆ รายรับรายจ่ายอะไรแบบเนี้ยเนาะ
น้องแพร: แต่รายรับรายจ่ายจริงๆ ก็ไม่เชิงบัญชีนะพี่ เพราะบัญชีเราต้องเดบิตเครดิตอะไรเงี้ย
ครูกอล์ฟ: แล้วเล่ากลับมาต่อเรื่องของเราตอนที่โควิดเสร็จปุ๊บพอกลับไปเรียนจริงๆ ละ หลังจากที่โควิดออนไลน์มาตั้งนานละได้เจออาจารย์ตัวเป็นๆ เป็นไงบ้างตอนนั้นก็เหมือนกัน ไม่ได้มีอะไรต่างกันหรือว่าต่างกัน
น้องแพร: การเรียนไม่ต่างกันเลยนะพี่ จะต่างกันแค่ว่าเราได้ทำกิจกรรมมหาลัย
ครูกอล์ฟ: อ๋อใช่ เพราะว่าออนไลน์กิจกรรมหายหมด ชีวิตเศร้าอะปี 1 ปี 2 มันควรจะต้องลั้นลาได้ทำกิจกรรมมันไม่มีนะ
น้องแพร: ก็ไม่มีแต่ว่าเราก็ลั้นลาในไทยแทน สอบเสร็จทุกที สอบเสร็จทุกเทอม อีกอาทิตย์นึงไปดำน้ำตลอดเลย
ครูกอล์ฟ: แล้วกิจกรรมที่นู่นเป็นไงบ้าง
น้องแพร: กิจกรรมที่นู่น แพรทำหลายอย่างนะพี่ อะไรที่มันส่งเมลมาสมัครไปหมดเลยช่วงนึง
ครูกอล์ฟ: แล้วทำอะไรมาบ้างครับ
น้องแพร: เป็นเหมือนที่นู่นมันจะเรียกว่า #connect คือแบบเป็นกลุ่ม #volunteer ที่ใหญ่ที่สุดในมหาลัย คือเราจะช่วยทำพวกแบบ #orientation หรือแบบ #openhouse หรือว่ามหาลัยจากกิจกรรมอะไรอย่างอื่นๆ เราก็จะเป็นคนช่วยไป setup ช่วยทำแบบเป็น staff อะไรอย่างเงี้ยพี่นี่ก็ได้ทำ open week แบบ orientation ตอนที่นักเรียนเข้าปฐมนิเทศ ก็มีพาทัวร์แคมปัสทัวร์ตั้งเต็นท์แบบว่า #information ใครมาถามอะไรอย่างเงี้ย ก็สนุกดี เป็นเหมือนไกด์
ครูกอล์ฟ: ดูๆ นี่ชอบ #hospitality เหมือนกันนะ
น้องแพร: คือเราก็ชอบคนแต่ว่าเจอบ่อยๆ ก็เหนื่อยต้องมีลิมิตต้องหาบาลานซ์ที่ดี
ครูกอล์ฟ: ในช่วงเวลาปีครึ่งที่นู่นเป็นไงบ้างครับทำอะไรบ้าง ช่วงจะจบแล้ว
น้องแพร: ช่วงจะจบกิจกรรมมหาลัยทำเยอะมาก เรียนก็หนักเท่าเดิมแต่วิชาเทอมสุดท้ายมันจะมีวิชาที่มันแบบงานกลุ่มเยอะหรือวิชาที่มันมันจะเรียกว่า capstone มันคือเหมือนแบบเอาที่เราเรียนทั้งหมด 3 ปีมาใส่อยู่ในวิชาเดียว
ครูกอล์ฟ: ได้รวบรวมความรู้ที่ได้เรียนมา
น้องแพร: ใช่มันอารมณ์เหมือนแบบเหมือนธีสิสแต่ไม่มีทีสิสอะ เป็นงานกลุ่มเหมือนทำทำงานให้ลูกค้าจริงๆ อารมณ์ประมาณนั้น มันก็จะหนักนิดนึงใช้เวลาทั้งเทอมในการทำอะไรเงี้ย
ครูกอล์ฟ: พอไปอยู่ที่นู่นเริ่มมีเรื่องกิจกรรมเริ่มได้ contact ก็ได้ใช้ชีวิตเด็กมหาลัยจริงๆ สักที
น้องแพร: ก็ใช่นะแต่ว่าเรื่องเรียนก็ยังเหมือนเดิม ชิลๆ ปล่อยจอย จบพอ
ครูกอล์ฟ: อยากจะให้พูดถึงคณะนี้นิดนึงว่ามีลักษณะของคณะเป็นยังไงเรียนแล้วมีอะไรที่เรารู้สึกว่า Happy ที่เราไปเรียนที่นี่บ้างอะไรเงี้ย เผื่อน้องๆ สนใจอยากจะไปเรียนที่นี่อะครับ
น้องแพร: คณะจะว่าชิลมันก็แล้วแต่คน แล้วแต่วิชาที่เราเลือกด้วย แล้วแต่แบบถ้าไปเลือกสาย
management ก็อาจจะงานรีพอร์ตเยอะหน่อย แต่รวมๆ ที่ชอบมหาลัยนี้คือกิจกรรมเยอะ แล้วก็มหาลัยมันมีคอนเซ็ปต์ว่า university of the real world มันก็จะแบบเน้น pratical ไม่ค่อย theory เท่าไหร่ แบบทฤษฎีก็แค่ในห้องเรียนก็ 2 ชั่วโมงอะ วิชานึงอาทิตย์ละ 2 ชั่วโมงอะพี่ แต่เราต้องอ่านเอง แล้วก็พวก assignment มันจะให้คิดเยอะหลายๆ อย่าง มันจะแบบว่าไม่มีถูกไม่มีผิด เน้นรีเสิร์ชอ่านรีเสิร์ชเยอะ
ครูกอล์ฟ: คำถามทันสมัยมั้ย อย่างเช่น assignment ที่ให้ทำมันเป็นของ ณ ปัจจุบัน ไหม
น้องแพร: ณ ปัจจุบันเลยนะพี่ค่อนข้างๆ แล้วอย่าง capstone ล่าสุดที่ไปเรียนคือของ major ที่ไปเลือกก็คือบัญชีอะ มันเหมือนครูเขาติดต่อกับลูกค้าจริงๆ ว่าแบบ what you expect New graduate ที่จะทำได้ว่าจบบัญชีมาเขาจะทำไรได้เราก็จะมี assignment แต่ละอาทิตย์เลยว่าแบบ โอเคอาทิตย์นี้คุณต้องทำภาษีอาทิตย์นี้ต้องทำแบบ annual report อาทิตย์นี้ต้องแบบทำอย่างงี้ได้เหมือนเขา expect ว่า คนที่ทำบัญชีได้ต้องทำอะไร
ครูกอล์ฟ: งั้นเข้าสู่คำถามต่อไปเลยจบคณะนี้ทำไปทำอะไรได้บ้าง
น้องแพร: หลายอย่างเลยนะพี่ถ้าสมมุติว่าเราชอบบัญชี เราอาจจะไปทำบัญชีให้บริษัทไปเลยก็ได้ แบบ internal หรือว่าเราไป external เป็น audit ก็จะไปตรวจสอบบัญชีบริษัทอื่น หรือว่าถ้าไม่ชอบแนวนี้ก็อาจจะแบบไปทำ consult ทำแบบที่ปรึกษา advisory ทำ tax
ครูกอล์ฟ: ทีเนี้ยถ้าเราไปเรียน accounting ต่างประเทศ แล้วพอเรากลับมาแล้วมาทำงานที่ไทย การที่เราจะมีใบที่เราสามารถจะเซ็นได้ว่าเนี่ยเรา approve บัญชีเนี่ย มันจะต้องผ่านขั้นตอนยังไง
น้องแพร: คือคนที่เซ็นอะพี่ มันจะเป็นแค่เฉพาะคนตรวจสอบบัญชีหรือว่าแบบ auditor ที่จะใช้ แต่ถ้าพี่ไม่ทำงานเป็นผู้ตรวจสอบก็ไม่ต้องสอบใบนี้ แต่ว่าการตรวจสอบใบนี้ยังไงมันก็ต้องแบบเก็บชั่วโมงทำงานอย่างน้อยสามปี แล้วก็ชั่วโมงทำงานสามพันชั่วโมง ถึงจะแบบสมัครไปสอบได้ ซึ่งก็ต้องสอบในแต่ละประเทศนั้นๆ
ครูกอล์ฟ: เราเป็นคนไทยแต่เราจบที่ queensland เนี่ย เราสามารถจะสมัครเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่นู่นได้ไหม
น้องแพร: ได้ เพราะว่ามหาลัยเรามัน accredit อยู่แล้ว
ครูกอล์ฟ: ตอนนี้ก็เพื่อนๆที่จบมามีใครไปทำอะไรแปลกๆบ้างไหมครับนอกจากผู้ตรวจสอบบัญชีหรือว่าที่ที่เล่ามา
น้องแพร: มันก็จะอยู่ในสายแวดวงธุรกิจ ไม่บัญชีก็ตรวจสอบบัญชี consult จะอยู่แค่นี้
ครูกอล์ฟ: สุดท้ายแล้วมีไรอยากจะบอกน้องๆที่อาจจะเรียนอยู่หรือว่าเด็กๆว่าเราจะค้นพบตัวเองยังไงหรือจะเจออะไรยังไง หรือมีอะไรอยากบอกถึงน้องๆที่กำลังดูอยู่ที่เรียนอยู่
น้องแพร: อยากจะบอกว่า อย่าไปจริงจังกับการเรียน ชีวิตวัยเด็กมีน้อยเราต้องสนุก ใช้ให้คุ้ม
ครูกอล์ฟ: ถือว่าแพรเป็นคนซีเรียสกับการเรียนไหม ตั้งแต่เราเรียนกันมาก็ดูเป็นคนชิลๆตลอด
น้องแพร: ไม่ ชิลตลอด
ครูกอล์ฟ: หนูเป็นคนยังไงหนูเป็นคนแบบว่ารอไปอ่านหนังสือใกล้สอบหรือว่าประมาณยังไงครับเวลาที่เราเรียน
น้องแพร: เป็นคนบาลานซ์นะพี่ แบบให้นาทีสุดท้ายเลยก็ไม่ชอบ แต่ว่าถ้าให้ล่วงหน้านานๆเลยก็ไม่เอา หรือว่าทำให้มันรู้สึกว่าโอเคครึ่งนึงและแล้วก็ดองไว้
ครูกอล์ฟ: ถ้าเป็นตัวพี่ พี่เป็นคนขี้เกียจ พี่จะอ่านหนังสือก็คือนาทีสุดท้ายก่อนสอบ อย่างเช่นประมาณแบบช่วงสอบก็คือเราขี้เกียจมาตลอด แล้วพอใกล้สอบมา สิ่งที่พี่ทำก็คือพี่อ่านหนังสือแล้วไม่ได้นอนอะ ก็คืออ่านหนังสือไม่ทันแล้วอะมันเลยต้องอ่านข้ามไปเพื่อไปสอบเลย ซึ่งไม่ดีไม่แนะนำเลยเพราะมันเหมือนทำร้ายร่างกายมากๆ แล้วของแพรจะเป็นยังไง
น้องแพร: อาจจะสักอาทิตย์นึงก่อนสอบก็ได้ เพราะมันบางทีสอบติดกันอะมันต้องปรับตัว แต่ถ้าเรารู้สึกเตรียมตัวดีอะก่อนสอบแบบวันนึงก่อนสอบไรงี้จะไม่อ่านเลย เพราะว่ารู้สึกว่าอ่านเข้าไปเดี๋ยวมันดันที่มีออกหมด แต่เราก็จะเลือกแค่วิชาถ้าวิชาไหนชอบก็จะอ่านเยอะวิชาไหนไม่ชอบก็จะปล่อยเลย บางทีเราสอบอยู่ยังไม่เข้าใจเลยว่าเขียนโคตรมั่วแต่เห็นคะแนนออกมาถูกได้ไงวะ
ครูกอล์ฟ: โอเคครับก็ขอบคุณมากครับสำหรับแพรวันนี้นะครับ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่กำลังมองหาคอร์สเรียนเตรียมตัวสอบในหลักสูตรต่าง ๆ #TheClassTutor ของเราเปิดสอนพิเศษ 1-on-1 ทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online กับติวเตอร์มากความสามารถที่จะแชร์เทคนิค ตะลุยโจทย์ และเจาะลึกเนื้อหา เพื่อช่วยให้น้องๆได้พัฒนาตนเอง และได้คะแนนตามที่ต้องการ
หลักสูตรที่เปิดสอน อาทิเช่น A-level | IGCSE | IELTS | TOEIC | TOEFL | IB | GED | SAT และอีกมากมาย
สามารถปรึกษาและวางแผนการเรียนได้แล้ววันนี้ #edexcel #pastpaper #internationalschool #IGCSE #cambridge #igcsepastpapers #savemyexams #alevel
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Comments