top of page

HOW TO ปรับตัวกับการเรียนในมหาลัยยังไงให้รอด

Updated: Oct 19, 2022


HOW TO ปรับตัวกับการเรียนในมหาลัยยังไงให้รอด
HOW TO ปรับตัวกับการเรียนในมหาลัยยังไงให้รอด

น้องๆหลายคนคงเคยประสบปัญหาในการปรับตัวเข้ากับชีวิตมหาลัยกันใช่ครับ ซึ่งแน่นอนครับว่าชีวิตมหาลัยเนี่ยมันมีความแตกต่างกับชีวิตมัธยมปลายอยู่บ้าง อาจจะทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น รู้สึกแปลกใหม่และมีอิสระเสรีมากกว่าเดิม ไม่มีกรอบหรือกฏระเบียบที่เข้มงวดเท่ากับสมัยก่อนและสิ่งสำคัญที่แตกต่างและสำคัญมากๆนั่นคือเรื่องของเนื้อหาการเรียน ซึ่งจะยากกว่าสมัยมัธยมมากๆ แต่อย่ากังวลไปครับ แน่นอนครับว่าหลายคนผ่านมหาลัยไปได้ เราก็จะผ่านมันไปได้เหมือนกัน วันนี้ทาง Theclasstutor จะมาแนะนำวิธีการปรับตัวเข้ากับการเรียนในมหาลัยยังไงให้รอดกันนะครับ


ก่อนอื่นเลยมาเริ่มถึงเรื่องความเป็นอยู่กันก่อน พอเข้ามหาลัยแล้วเนี่ย น้องๆหลายคนที่บ้านอยู่ไกล ไม่สะดวกที่จะฝ่ารถติดมาเรียนไกลๆทุกเช้า อยากจะประหยัดเวลาการเดินทาง ก็คงมาอยู่หอซึ่งจะใกล้มหาลัยและเดินทางสะดวกขึ้นมาก แน่นอนว่าความเป็นอยู่ก็คงจะแตกต่างจากที่บ้าน สิ่งที่จะได้มาก็คืออิสระเสรีที่จะทำอะไรต่างๆได้มากขึ้นกว่าก่อน ต้องตื่นนอน เข้านอน ออกไปเรียนให้เป็นเวลา เสื้อผ้าต่างๆก็คงต้องดูและซักเองรวมถึงเรื่องความสะอาดของห้องด้วยนะครับ ต้องจัดการตัวเองให้ได้นะ หากไม่มีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต นอนดึก ตื่นสาย ไม่ยอมไปเรียน สุดท้ายจะเรียนไม่รู้เรื่องเอานะครับ


อีกสิ่งหนึ่งที่น้องๆเฟรชชี่ปี 1 ทุกคนจะต้องเจอนั่นก็คือกิจกรรมครับ กิจกรรมมันจะเยอะกว่าปีอื่นมากๆๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมรับน้อง ซ้อมเชียร์ ประกวดดาว-เดือนและอีกมากมาย ซึ่งก็อาจจะต้องมีการประชุม ทำกิจกรรมกันในตอนเย็นถึงค่ำ ซึ่งน้องๆหลายคนอาจจะเกรดตกกันเลยในเทอมแรกเพราะเหนื่อย พอเหนื่อยก็ไม่เข้าเรียน ไม่ทบทวนบทเรียน สุดท้ายก็ทำข้อสอบไม่ได้ สิ่งสำคัญคือต้องบริหารจัดการเวลาให้ดี กิจกรรมทำได้ แต่ต้องแบ่งเวลาพักผ่อนให้พอ เข้าเรียนและทบทวนบทเรียนกันด้วยนะครับ


มาถึงประเด็นหลักของเรากันดีกว่าครับนั่นคือเรื่องเนื้อหาการเรียน แอดมองว่าการปรับตัวในเรื่องนี้สำคัญที่สุดเลยนะครับเรื่องการเรียนเนี่ย เพราะเนื้อหาในมหาลัยเนี่ยค่อนข้างที่จะยากกว่าเนื้อหาสมัยมัธยมมากๆ ยิ่งคะแนนในหมาลัยส่วนใหญ่คือมาจากคะแนนสอบสัก 90% เลย จะไม่มีคะแนนเก็บมาช่วยดึงเกรดเหมือนสมัยมัธยมอีกแล้ว อาจารย์ก็จะไม่ตามงานเหมือนสมัยมัธยมแล้ว หากน้องไม่ส่งก็ไม่มีคะแนนไปเลย หากจะเปรียบเทียบก็คือการเรียนมัธยมเปรียบเสมือนการว่ายน้ำในทะเล หากน้องไม่พยายาม มันยังมีคลื่นที่พร้อมจะพัดน้องขึ้นฝั่ง แต่การเรียนในหาลัยเปรียบเสมือนการว่ายน้ำในบึง หากน้องไม่ว่ายก็ไม่มีใครคอยมาช่วยให้น้องถึงฝั่งได้ นี่ยังไม่นับการสอบที่ส่วนใหญ่ตัดเกรดตามการอิงกลุ่ม กล่าวคือไม่ใช่ว่าน้องสอบได้ 80% แล้วน้องจะได้เกรด A เลยนะครับ หากน้องจะได้เกรด A น้องต้องสอบให้ได้คะแนนเยอะกว่าคนส่วนใหญ่มากๆถึงจะได้นะครับและนอกจากนี้ยังมีเกรดขั้นต่ำหรือที่เรียกว่าการติดโปรด้วยนะครับ ถ้าเกรดต่ำกว่าเท่านี้โดนรีไทน์ ถ้าเกรดเท่านี้ให้เวลาอีกสองเทอมหรือสี่เทอมต้องมากกว่าเท่านี้ไม่งั้นโดนรีไทน์ บางวิชาอาจารย์ไม่เช็คชื่อบวกกับรู้สึกว่าอาจารย์สอนไม่เข้าใจ น้องๆหลายคนก็เรียกได้ว่าไม่เข้าเรียนเลยก็มีครับ จะเข้าก็แต่วิชาที่มีเช็คชื่อ ซึ่งการโดดเรียนแบบนี้มันก็จะทำให้เราขาดเนื้อหาการเรียนในห้องไป รวมทั้งอาจจะพลาดแนวข้อสอบที่จะออกได้นะครับ อย่าลืมนะครับว่าคนที่ออกข้อสอบให้เราทำก็คืออาจารย์ที่สอนเรานี่แหละครับ เค้าอาจจะใบ้แนวข้อสอบหรือหัวข้อที่ควรเน้นมาก็ได้ ถ้าไม่ได้เข้าเรียนก็อย่าลืมไปตามถามถึงสิ่งที่อาจารย์เน้นกับเพื่อนที่เข้าเรียนด้วยนะครับ เรื่องการเตรียมตัวก็สำคัญ หากเตรียมตัวมาเรื่อยๆ ทำโจทย์มาเรื่อยๆ ช่วงใกล้สอบนี่ก็จะสบายเลยครับ ไม่ต้องอ่านหนักมาก แต่แน่นอนครับในความเป็นจริงหลายๆคนนี่ไม่ใกล้สอบ ไฟไม่รนก้นก็จะไม่มีแพชชั่นในการอ่าน พออ่านแค่ช่วงใกล้สอบก็จะหนักหนากันหน่อย ไม่ได้หลับไม่ได้นอน อ่านแบบ one night miracle กันไป ซึ่งแอดแนะนำให้อ่านกับเพื่อนนะครับแบบนี้เพราะจะได้มีการถามตอบกัน สงสัยข้อไหน ติดข้อไหนก็จะมีเพื่อนๆคอยช่วยกัน ขาดชีทชุดไหน ข้อสอบข้อไหนควรเน้นอันนี้การอยู่เป็นกลุ่มกับเพื่อนจะช่วยเราได้มากนะครับ การเรียนในมหาลัยจะมีความยากกว่าสมัยมัธยมเยอะครับ แต่ก็อย่ากลัวจนเกินไปเพราะสุดท้ายทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราครับ หากเราเตรียมตัวดี ทุกอย่างจะออกมาดีครับ


สุดท้ายแล้วการเข้าไปใช้ชีวิตในมหาลัยนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอะไรเลยนะครับหากเรามีการเตรียมพร้อมที่ดี มีระเบียบวินัยกับชีวิตมากพอเราก็จะผ่านมันไปได้ครับ ไม่อยากให้ทุกคนกังวลหรือเครียดจนเกินไป เดี๋ยวชีวิตมหาลัยจะหมดสนุกเอา หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนในการใช้ชีวิตในมหาลัยบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ^^

8 views0 comments

Recent Posts

See All
bottom of page